กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมเพื่อสังเกตการเริ่มป่วยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 65-L5247-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานบริหารงานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 270,184.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสิราภรณ์ สุวรรณการณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.745,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
85.00
2 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19
90.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ด้านร่างกาย จิต สังคม และปัญญา
33.00
4 จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถมาช่วยเหลือคนในชุมชนได้
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในประเทศไทย พบจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ 3,370ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 2,149,413 ราย หายป่วยสะสม 2,083,275ราย และเสียชีวิตสะสม 21,166ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2564) การระบาดละลอกใหม่นี้มีรายงานผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก และพบผู้ป่วยในหลายพื้นที่ ตลอดจนมีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คนภายในประเทศ จึงเป็นเหตุผลสำคัญให้ทางองค์การอนามัยโลกได้ประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก จากสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ของประเทศไทย ทำให้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศยกระดับตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะโดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19 ยังมีการกลายพันธุ์เป็นหลายสายพันธุ์ และคงทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเสี่ยงที่จะเกิดภาวะวิกฤติด้านสาธารณสุข และสำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในอำเภอสะเดา พบจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 4,722 ราย เสียชีวิตสะสมจำนวน 28 ราย โดยผู้ป่วยยืนยันสะสมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ มีจำนวน 107 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2564) ดังนั้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงติดเชื้อ หรือผู้ติดเชื้อได้รับการดูแลระหว่างการกักตัว เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีวัสดุอุปกรณ์พร้อมใช้ในการปฏิบัติงาน ลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด และติดเชื้อโควิด – 19

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

85.00 90.00
2 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

90.00 95.00
3 เพื่อให้มีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ด้านร่างกาย จิต สังคม และปัญญา ลดลง

ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญาลดลง

33.00 10.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนจิตอาสาที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชน

จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนเพิ่มขึ้น

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2200 270,184.00 0 0.00
17 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดบริการกักตัวบุคคลกลุ่มเสี่ยงสูงที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง 200 220,000.00 -
19 ม.ค. 65 - 28 ก.พ. 65 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ มาตรการป้องกันโรคโควิด-19 1,000 4,000.00 -
1 มี.ค. 65 - 30 มิ.ย. 65 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 (COVID-19) 1,000 46,184.00 -
  • จัดพื้นที่เพื่อติดตามและเฝ้าระวังในรายที่ตรวจพบว่ามีภาวะเสี่ยงตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
  • ให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ (COVID-19)
  • จัดหาวัสดุอุปกรณ์การป้องกันโรค (COVID-19) สำหรับใช้ในพื้นที่ควบคุมเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย
  • รายงานผลการดำเนินงานให้ประธานกองทุนทราบทุกรอบที่มีการควบคุมเพื่อสังเกตอาการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลระหว่างการกักตัว เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยจากการติดเชื้อ
  • มีการป้องกันการติดต่อแพร่ระบาดโดยติดตาม เฝ้าระวัง และการแยกสังเกตอาการ ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2565 15:52 น.