กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันสวย ยิ้มสดใส ตำบลชะมวง ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-50105-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหัวถนน
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเลอศักดิ์ จันทร์น้อย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-3 ปี มีปัญหาฟันผุ
77.78

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจสภาวะช่องปากในเด็กอายุ3 ปี ตั้งแต่ปี 2562 2563 2564 มีอัตราฟันผุร้อยละ 55.56 42.86 77.78 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้น สาเหตุหลักที่ ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาด ช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรงทำให้ เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสีย ต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกัน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้ อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็น ปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวควรเริ่มดูแลช่องปากตั้งแต่แรกเกิดตั้งแต่ฟันยังไม่งอกจนฟันซี่แรกขึ้น ทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจรให้ทันตสุขศึกษาตั้งแต่ฟันยังไม่งอก เมื่อฟันงอกแล้วให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก การให้ทันตสุขศึกษาสอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี บริการทาฟลูออไรด์และการติดตามประเมินผล
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชะมวง ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในคลีนิกเด็กดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันฟันผุในเด็กอายุ 0-3 ปี
  1. เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ 0 - 3 ปี
  2. เพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยช่องปากและบริการป้องกันโรคฟันผุให้เด็กอายุ 0 - 3 ปี
  3. เพื่อสร้างความตระหนักและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก
77.78 2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 162 30,400.00 4 30,400.00
10 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ให้บริการเคลือบฟลูออไรด์ในเด็ก 0-3 ปี ที่มีฟันขื้นแล้ว 64 18,550.00 18,550.00
4 ก.พ. 65 จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงค้นหากลุ่มเป้าหมายและกำหนดแผนปฏิบัติงาน 14 350.00 350.00
5 พ.ค. 65 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากเบื้องต้นกับเด็กได้ 70 11,150.00 11,150.00
23 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงาน เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน หาปัญหา อุปสรรค เพื่อนำไปแก้ไขและพัฒนาต่อไป 14 350.00 350.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กอายุ 0- 3 ปี มีฟันผุลดลงร้อยละ 2 2.ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเบื้องต้นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2565 15:13 น.