กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ วัยไส ห่างไกล โควิด-19 (Covid-19) โรงเรียนทุ่งปรือพิทยาคม (รัตนปัญโญ)
รหัสโครงการ 65 - L5279- 02 - 03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งปรือพิทยาคม
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มกราคม 2565 - 1 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 68,725.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัฐภรณ์ สุทธินวล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837,100.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 69 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราช กิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามี  อัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดสงขลา        อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง     ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางในการตรวจและควบคุมโรคนี้ ในการนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและองค์การเภสัชกรรมร่วมกันจัดหาชุด ATK เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุขนำไปให้ประชาชนในการตรวจคัดกรองตนเองและตรวจเชิงรุกเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ยังอยู่ในช่วงการจัดหาและจัดระบบการกระจายซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกพอสมควร ซึ่งอาจไม่ทันต่อการระงับยับยั้งตามสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)ที่ มท.0808.2 /ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 โรงเรียนทุ่งปรือพิทยาคม (รัตนปัญโญ) จึงได้จัดทำ โครงการ คัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) โรงเรียนทุ่งปรือพิทยาคม (รัตนปัญโญ) พร้อมกันนี้ได้จัดทำแผนการเปิดเรียนแบบ On site เพราะการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนจะส่งให้นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ เนื่องจากนักเรียนชั้น ม.3 และนักเรียนชั้น ป.6 ต้องเตรียมตัวสอบ O-net และศึกษาต่อ ชั้นป.3 สอบ NT และ ชั้นป.1 สอบ RT เพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม หากว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยังมีอยู่ต่อไป นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยสามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 239 68,725.00 0 0.00
26 ม.ค. 65 - 1 ก.ย. 65 โครงการ คัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) โรงเรียนทุ่งปรือพิทยาคม (รัตนปัญโญ) 239 68,725.00 -

กิจกรรมที่ 1 อบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด19 ของโรงเรียนทุ่งปรือพิทยาคม (รัตนปัญโญ)       1. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.พะตง 2. ประชุมสร้างความเข้าใจและกำหนดบทบาทตลอดจนเชิญวิทยากรให้ความรู้ (ทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง) จนท.หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชน เพื่ออบรมชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคโควิด19 นำไปดำเนินการตามโครงการ 3. ประสานและเตรียมการประชุม อบรมทั้งด้านกระบวนการ เอกสารและวัสดุอุปกรณ์ 4. ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน โดยแบ่งเป็น 4 รอบ ดังนี้         - รอบที่ 1 นักเรียนชั้น ม.1-3  จำนวน 49 คน         - รอบที่ 2 นักเรียนชั้น ป.4-6  จำนวน 59 คน         - รอบที่ 3 นักเรียนชั้น ป.1-3  จำนวน 64 คน         - รอบที่ 4 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 จำนวน 47 คน         - ครูและบุคลากรโรงเรียนทุ่งปรือพิทยาคม (รัตนปัญโญ) 20 คน 5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 239 คน X 25 บาท X 1 มื้อ  เป็นเงิน 5,975 บาท 6. ค่าวิทยากร x คนๆ ละ 8 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท        เป็นเงิน 4,800 บาท 7. สรุปผลการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่ 2  คัดกรอง Antigen Test Kit (ATK) ให้กับนักเรียนโรงเรียนทุ่งปรือพิทยาคม
(รัตนปัญโญ) 1. ค่าแอลกอฮอล์แบบน้ำ ขนาด 5 ลิตร จำนวน 12 แกลลอนๆละ 500 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 2. ค่าหน้ากากอนามัยจำนวน 12 กล่อง กล่องละ 125    เป็นเงิน 1,500 บาท 3. ถุงมือยางป้องกันเชื้อโรค จำนวน 5 กล่อง กล่องละ 230  เป็นเงิน 1,150 บาท 5. ถุงขยะติดเชื้อ(สีแดง) แพ็คละ1 กิโล ราคา 120 จำนวน 2 แพ็ค เป็นเงิน 240 บาท 6. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.50X2.00 เมตร        เป็นเงิน 450 บาท   ป้ายรณรงค์ หน้าอาคารเรียน และโรงอาหาร ขนาด 1.50X2.00 เมตร เป็นเงิน 1,350 บาท 7. ค่าเจลล้างมือ 5 ลิตร จำนวน 12 แกลลอนๆละ 650 บาท  เป็นเงิน 7,800 บาท 8. ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด จำนวน 4 เครื่องๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 9. ชุดตรวจ ATK จำนวน 239 ชุดๆละ 140 บาท เป็นเงิน 33,460 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 นักเรียนโรงเรียนทุ่งปรือพิทยาคม (รัตนปัญโญ)ได้รับการคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ตามแผนการเปิดเรียนรูปแบบ On site และการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาดต่อไป 8.2 โรงเรียน และชุมชนปลอดโรค ไม่มีการระบาดเพิ่มในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2565 16:08 น.