กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสมุนไพรไทยต้านภัย COVID – 19 ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5310-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 23,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดำรงค์ คงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุทธินันท์ มานะกล้า
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 23,500.00
รวมงบประมาณ 23,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 เป็นไวรัสข้ามสายพันธุ์ที่สันนิษฐานว่าเกิดจากค้างคาวมาติดเชื้อในคน โดยเริ่มระบาดในมณฑลอู่ฮั่นของประเทศจีนในช่วงปลายปี ค.ศ.2019 จนกระทั่งมีการระบาดไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวเป็นภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลก และปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลก พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสมจำนวน 327,692,257 ราย รักษาหายแล้ว 267,397,474 ราย เสียชีวิต 5,538,922 ราย (ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล COVID-19 วันที่ 19 มกราคม 2565) สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสม จำนวน 2,344,933 ราย รักษาหายแล้ว จำนวน 2,241,363 ราย เสียชีวิต 21,968 ราย (ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล COVID-19) และจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีประชาชนติดเชื้อและเริ่มกระจายในวงกว้างมากขึ้น การป้องกันการติดเชื้อสามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อ COVID-19 การสัมผัสกับผู้ป่วย หรือ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากสงสัยว่าตนเองอาจจะได้รับเชื้อควรแยกสังเกตอาการอย่างน้อย 14 วัน ขณะแยกสังเกตอาการต้องงดการเดินทางหรืออยู่ในที่ที่มีคนหนาแน่น งดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีการบูรณาการทุกภาคส่วน เครื่องมือ ทรัพยากรและงบประมาณเพื่อสนับสนุนบทบาทของภาคีเครือข่าย ร่วมกันขับเคลื่อนยกระดับการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ประชาชนมีความรอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว สังคม และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการต่างๆ ขององค์กรในการรับมือการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 เพราะการรับรู้และบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้ “สมุนไพร” เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย มีการใช้กันมายาวนานนับพันปีเป็นภูมิปัญญารุ่นต่อรุ่น ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยต่อยอดจนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ยิ่งในช่วงสถานการณ์ COVID-19สมุนไพรไทยนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาช่วยกระตุ้นเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยนำมาช่วยบรรเทาอาการหวัดเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชาย ขิง ขมิ้นชัน มะขามป้อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนบางส่วนในพื้นที่ตำบลเขาขาว ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในการใช้สมุนไพรในสถานการณ์ COVID-19 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสมุนไพรไทยต้านภัย COVID – 19 เพื่อให้ประชาชนในตำบลเขาขาว มีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรเพื่อเสริมภูมิต้านทานในสถานการณ์ COVID – 19 และเพื่อประชาชนได้เรียนรู้สรรพคุณของสมุนไพรชนิดต่างๆ และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ได้เรียนรู้การทำยาดมสมุนไพร การสุมยาสมุนไพร เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก และเรียนรู้การแปรรูปสมุนไพรทำเป็นน้ำสมุนไพรเพื่อเสริมสร้างภูมต้านทานร่างกายให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรให้อยู่คู่กับชุมชนสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการใช้สมุนไพรดูแลตนเองในสถานการณ์ COVID – 19

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการใช้สมุนไพรดูแลตนเองในสถานการณ์ COVID – 19 ร้อยละ 80

100.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำยาดมสมุนไพรไว้ใช้เองในครัวเรือน เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำยาดมสมุนไพรไว้ใช้เองในครัวเรือน เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ร้อยละ 80

100.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำการสุมยาสมุนไพรได้ด้วยตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำการสุมยาสมุนไพรได้ด้วยตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ร้อยละ 80

100.00 80.00
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรในครัวเรือนมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรดื่มเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกายให้แข็งแรง

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรในครัวเรือนมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรดื่มเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกายให้แข็งแรง ร้อยละ 80

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,500.00 1 23,500.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 23,500.00 23,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการสมุนไพรในการดูแลตนเองในสถานการณ์ COVID – 19 เพิ่มมากขึ้น
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำยาดมสมุนไพรไว้ใช้เองในครัวเรือน เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำการสุมยาสมุนไพรได้ด้วยตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรในครัวเรือนมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพรดื่มเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกายให้แข็งแรง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2565 00:00 น.