กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเชิงแสประจำปี 2565
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเชิงแส
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 35,469.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมกฤษณ์ มีปิด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ก.ย. 2565 35,469.00
รวมงบประมาณ 35,469.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการปรานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของปราชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชนกองทุนฯ นอกจากมีเจตนารมย์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนให้ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง และการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้มีความสามารถในการบริหารด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นกลไกสำคัญให้การดำเนินงนของกองทุนฯ มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลและเกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่มากที่สุดประกอบกับตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561ข้อ 10เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติและข้อ 10 (4)เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนฯ ตามข้อ 7 อาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวช้องโดยตรง ให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็น และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 8องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตกลงสมทบเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพในอัตราร้อยละของเงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7(1) ข้อ และข้อ 8 (2) “สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 กรณีรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 6 ถึง 20 ล้านบาท

ในปีงบประมาณ 2565กองทุนหลักประกันสุขภาพ คาดว่าจะไม่ได้รับเงินสมทบจากกองทุน สปสช.จำนวน126,675 บาทและเทศบาลตำบลเชิงแสจะต้องสมทบไม่น้อยกว่าร้อยละ40เป็นเงิน50,670บาท รวมเป็นเงิน 177,345 บาทโดยกองทุนสามารถนำไปใช้จ่ายในการจัดทำโครงการบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเชิงแส ไม่เกินร้อยละ20บาทเป็นเงิน35,469บาท

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะกรรมการมีแผนพัฒนาสุขภาพเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป

มีแผนพัฒนาสุขภาพตำบล / แผนงาน/โครงการ/สำหรับปีงบประมาณ 2565

1.00
2 เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนและอนุกรรมการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

โครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอนุมติได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และมีการประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการและผู้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อพิจารณาและติดตามงาน

1.00
3 เพื่อจัดซื้อวัดสุอุปกรณ์ครุภัณฑ์ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนฯ

กองทุนมีวัสดุอุปกรณ์ และครุภัณฑ์ เพียงพอในการปฏิบัติงาน

1.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ บุคลากร และคณะกรรมการ อนุกรรมการ สำหรับดำเนินงานและช่วยเหลืองานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ มีความรู้ และเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานด้วยความถูกต้อง บรรลุผลสัมฤทธิ์

เจ้าหน้าที่ บุคลากร คณะกรรมการบริหารกองทุน และอนุกรรมการ มีศักยภาพสำหรับดำเนินงานและช่วยเหลืองานกองทุน หลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ และได้รับการพัฒนาศักยภาพ ร้อยละ 80

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,469.00 0 0.00
21 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดทำแผนสุขภาพ ประจำปี 2565 0 1,700.00 -
21 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้เสนอโครงการ 0 33,769.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ผานการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

  2. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

3.คณะกรรมการบริหารกองทุน และอนุกรรกมาร ได้รรับความรู้ และพัฒนาศักยาภพในการปฺบัติงาน ทำให้การดำเนินงานกองทุนมีความถูกต้องและบรรลุผลสัมฤทธิ์

4.กองทุนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปด้วยความถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2565 13:20 น.