กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคเท้าช้างในพื้นที่ปี2565
รหัสโครงการ 65-L2536-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2565 - 28 กุมภาพันธ์ 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 5,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลลิศรา ยอดเงิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 980 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเท้าช้าง (คน)
7.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินงานเฝ้าระวังการกลับมาระบาดซ้ำของโรคเท้าช้าง โดยเจ้าหน้าสาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ เข้าดำเนินการเจาะเลือดค้นหาผู้ติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างด้วยชุดตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้างแบบรวดเร็วและทำฟิล์มเลือดหนา ในเขตรับผิดชอบของตนเอง โดยในปี 2563ได้ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่แพร่ระบาดโรคเท้าช้างจำนวน2หมู่บ้านกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,212รายตรวจพบผู้ที่มีแอนติบอดีชนิด antifilarial IgG4จำนวน29รายคิดเป็นร้อยละ2.40จากการดำเนินการดังกล่าวทำให้ประชาชนได้รับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้างได้อย่างทันเวลาก่อนนำไปสู่ความพิการในอนาคต สำหรับสถานการณ์โรคเท้าช้างในตำบลปูโยะมีผู้ป่วยที่ตรวจพบไมโครฟิลาเรียในหมู่ที่ 4จำนวน 7รายสำหรับมาตรการการดำเนินการป้องกันการแพร่เชื้อที่สำคัญ คือ ๑) การรักษากลุ่มประชากรเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ๒) การรักษาเฉพาะรายโดยการติดตามจ่ายและเจาะโลหิตซ้ำในผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสเลือด ทุก 6 เดือน เป็นเวลา 2 ปีและการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ปรากฏอาการอวัยวะบวมโต ๓) การให้สุขศึกษา – ประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเท้าช้างอย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษารวมถึงมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะได้ดำเนินการจ่ายยารักษากลุ่มตามโครงการกำจัดโรคเท้าช้างของกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี ๒๕๔๕-๒๕60และยังอยู่ในช่วงเฝ้าระวังหลังหยุดการจ่ายยารักษากลุ่มโรคเท้าช้าง เพื่อตอบสนองนโยบายของจังหวัดนราธิวาส โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะจึงได้จัดโครงการเฝ้าระวังโรคเท้าช้างในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดการแพร่ระบาดโรคเท้าช้างในพื้นที่

ร้อยละของการพบแอนติเจน/ไมโครฟิลาเรีย ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด

2.40 1.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย

ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย (คน)

7.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,300.00 0 0.00
10 ก.พ. 65 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่คณะทำงาน 0 550.00 -
14 - 23 ก.พ. 65 กิจกรรมเจาะเลือดตรวจเชื้อโรคเท้าช้างและจ่ายยาป้องกันโรคเท้าช้างเชิงรุก 0 4,750.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนสามารถป้องกันตนเองจากสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค
  2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้าง
  3. อัตราการพบเชื้อในกระแสเลือดรายใหม่ลดลง
  4. ผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสเลือดได้รับการติดตามรักษาและเจาะโลหิตซ้ำทุกรายเพื่อลดพยาธิสภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
  5. ผู้ป่วยปรากฏอาการสามารถดูแลตนเองอย่างถูกวิธีเพื่อลดความทุกข์จากภาวะของโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2565 00:00 น.