กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ละหาร
รหัสโครงการ 65-L3060-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 53,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ละหาร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.659,101.627place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 13 กันยายน 2563 ได้กำหนดในข้อ 7 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ภายใต้ความเห็นของคณะกรรมการกองทุนมีผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่รับผิดชอบต่อกองทุนโดยตรงมากยิ่งขึ้น (เปลี่ยนแปลงจากประกาศฉบับเดิมซึ่งกำหนดให้เป็นผู้กำกับดูแล) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดระบบธุรการ การเงิน หรือความเสียหายที่มีต่อกองทุนภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้รวมทั้งมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดระหว่างการดำเนินการและบริหารจัดการกองทุน และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ต้องเป็นการดำเนินงานและบริหารจัดการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้สนับสนุนและกำหนดโดยสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริการจัดการหรือการพัฒนาศักยภาพและคณะกรรมการหรืออนุกรรมการหรือคณะทำงานอื่น ๆ ที่กรรมการกองทุนแต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพรวมการจัดซื้อครุภัณฑ์ที่สนับสนุนการดำเนินงานโดยตรงครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน 20,000 บาทต่อหน่วย สำหรับค่าตอบแทนคณะกรรมการไม่เกิน 400 บาท/คน/ครั้ง หรือคณะอนุกรรมการไม่เกิน 300 บาท/คน/ครั้งหรือคณะทำงานอื่นๆ ที่เข้าร่วมประชุมจ่ายได้เดือนหนึ่งไม่เกินตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดทั้งนี้งบประมาณประเภท ที่ 4 สปสช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายประเภทนี้ต้องไม่เกินร้อย 15 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนในรอบปีงบประมาณนั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ได้จัดทำโครงการการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหารขึ้น เพื่อบริหารพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลละหาร รวมทั้งเพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ได้ดำเนินการตามแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้านชุมชนหรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ
1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ - กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ และอนุกรรมการ/คณะทำงาน - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 4.ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด - จัดประชุมคณะกรรมการ และที่ปรึกษา อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะคณะทำงานกองทุนฯ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี - กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน โดยการอบรมและทัศนศึกษาดูงาน อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.การบริหารจัดการกองทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
2.แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 3. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2565 11:19 น.