กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ตำบลโคกม่วง ปี 2565
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 3 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 97,305.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกุลธิดา พิชญ์พนัส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ม.ค. 2565 25 ม.ค. 2565 97,305.00
รวมงบประมาณ 97,305.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7777 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส (COVID-19) ที่มีความรุนแรงไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดติดต่อกันมาหลายเดือนแล้ว ปัจจุบันมีการจัดกลุ่มพื้นที่จังหวัดในประเทศไทยเป็น 3 กลุ่ม คือ พื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว โดยจังหวัดสงขลายังเป็นจังหวัดที่อยู่ในกลุ่มพื้นที่ควบคุม อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไป และผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยาม ผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก New Normal และ DMHTTอย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ         ทั้งนี้ จากข้อมูลการแพร่ระบาดจนถึงปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อโควิด19 ของตำบลโคกม่วงมีผู้ติดเชื้อจำนวนทั้งสิ้น 159 คน และมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งจากการสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ และผู้ป่วยต่างอำเภอ ต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจ ATK เชิงรุก ทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่าง คลอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและรวดเร็ว โดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางในการตรวจและควบคุมโรคนี้ ทั้งนี้นอกจากการคัดกรอง ATK ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ยังมีการรณรงค์การฉีดวัคซีนโควิดเชิงรุกในพื้นที่อีกด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วงจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ตำบลโคกม่วง ปี 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ

ร้อยละ 80 ของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

0.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชนตัวชี้วัด

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชนร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) กิจกรรม คัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) การควบคุมโรค และฉีดวัคซีนโควิดเชิงรุก 1. จัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลตามรายการในโครงการ 2. สอบสวนโรคกรณีมีผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่
3. จัดบริการตรวจ ATK ในชุมชนให้กลุ่มเสี่ยงสูงที่สัมผัสผู้ป่วยมาจากทั้งในและนอกพื้นที่ รวมทั้งการสัมผัสที่เป็นคลัสเตอร์ต่างๆ รวมทั้งในโรงเรียนกรณีที่โรงเรียนไม่สามารถดำเนินการเองได้ เช่น เด็กเล็ก เป็นต้น
4. จัดบริการฉีดวัคซีนเชิงรุกตามจำนวนกลุ่มเป้าหมาย 5. บันทึกข้อมูลการสอบสวนโรค การตรวจ ATK การฉีดวัคซีน ในฐานข้อมูลของสถานบริการ
6. สรุปผลการจัดกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาดในชุมชน ส่งผลให้ชุมชนปลอดโรค ไม่มีการระบาดเพิ่มในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2565 15:28 น.