กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเครือข่ายการจัดการขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่ดี หมู่ที่ 2 บ้านหารเทา
รหัสโครงการ 65-L3339-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. หมู่ที่ 2 บ้านหารเทา
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2565
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม. หมู่ที่ 2 บ้านหารเทา
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีสุขภาพดีเป็นเป้าหมายสูงสุดของมวลมนุษยชาติ สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการมีสุขภาพที่ดีของมวลมนุษยชาติ คือ ความเจ็บป่วยหรือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ กลไกการเกิดโรคของมนุษย์ต่างมีปัจจัยขั้นพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน คือ ชีวิตมนุษย์เอง เชื้อโรครวมทั้งพาหะนำโรคหรือสัตว์นำโรคต่างๆด้วย และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรค ซึ่งสิ่งแวดล้อมมีบทบาทมากที่สุดสำหรับโรคติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อโรคและร่างกายมนุษย์ต่างต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมยังมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ด้วยโรคติดเชื้อเกิดจากเชื้อโรค และหรือสารที่สร้างจากเชื้อโรคนั้นๆความเจ็บป่วยที่สำคัญของประชาชนในปัจจุบันแบ่งออกเป็นป่วยด้วยโรคติดต่อและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง ซึ่งโรคติดต่อที่สำคัญเป็นปัญหาในพื้นที่ หมู่ที่ 2 บ้านหารเทาประกอบด้วยโรคอุจจาระร่วงโรคไข้เลือดออก โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมือเท้าปาก เป็นต้น และเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุอุบัติภัย เป็นต้น การเกิดโรคติดต่อมีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรคการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ จะต้องควบคุมเชื้อโรคไม่ใช้มีการแพร่พันธุ์ที่มากพอจนถึงระดับที่จะก่อโรคได้สัตว์นำโรคหรือพาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยที่สุดและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับการจัดการให้ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพแวดล้อมที่ที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยจะต้องสะอาดถูกสุขลักษณะซึ่งจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคสัตว์นำโรคหรือพาหนะนำโรค การปรับปรุงควบคุมหรือ รักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านจะต้องปฏิบัติเป็นวิถีชีวิตประจำวันในการจัดการขยะชุมชนต้องกลับมาเริ่มต้นที่ระดับครัวเรือน ให้มีการจัดการขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะ โดยวิธีการลดปริมาณขยะคัดแยกขยะที่ต้นทางและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่โดยใช้หลัก 3 Rsคือ ลดการใช้ ( Reduce ) การนำมาใช้ซ้ำ ( Reuse ) การใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ( Recycle ) รวมทั้งการนำขยะไปใช้ประโยชน์และการจัดการขยะที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป ชมรม อสม. หมู่ที่ 2 ตำบลหารเทาจึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายการจัดการขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคติดต่อในชุมชน เนื่องจากได้เล็งเห็นว่าควรมีการพัฒนาครัวเรือนในทุกหมู่บ้าน ให้สะอาด ปราศจากโรคภัย ด้วยการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาดูแลรักษาความสะอาด อาศัยความร่วมมือร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจากทุกภาคส่วนในพื้นที่เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยรณรงค์ปรับปรุงพัฒนารักษาความสะอาดบริเวณบ้านเรือน ชุมชน หมู่บ้านสถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ และแหล่งน้ำสาธารณะ ให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม เพื่อกรตุ้นและจูงใจให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะและคงสภาพให้ต่อเนื่องยั่งยืน โดยการใช้กลวิธีสร้างจิตอาสาและพัฒนาเครือข่าย อันจะส่งผลให้ประชาชนมีมีอุบัติการและอัตราการเกิดโรคติดต่อลดลงอย่างเป็นรูปธรรม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรม/ฟื้นฟูความรู้แกนนำด้านการจัดการขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการมีสุขภาพดี

มีแกนนำจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน

15.00 45.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการขยะครัวเรือนและพัฒนาสิ่งแวดล้อม

ครัวเรือนมีการคัดแยกและกำจัดขยะได้ถูกต้อง

30.00 50.00
3 เพื่อให้สนับสนุนให้เครือข่ายจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม

มีเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการปฏิบัติงานอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง

5.00 12.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรม สรุป ประเมินผลการจัดกิจกรรม แลกเปลียนเรียนรู้ และกิจกรรมรณรงค์การจัดการขยะในชุมชน 0 7,150.00 -
9 ก.ค. 65 อบรมฟื้นฟูแกนนำด้านการจัดการขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการมีสุขภาพที่ดี 0 9,850.00 -
15 ก.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับสมัครผู้สมัครใจเข้าร่วมการลด การคัดแยก การจัดเก็บ การกำจัด และการใช้ประโยชน์ 0 9,000.00 -
15 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมตรวจประเมินบ้านจัดการสิ่งแวดล้อมสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายและมอบรางวัลให้แก่บ้านที่จัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยม 0 4,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีแกนนำจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมครอบคลุมพื้นที่/องค์กรเป้าหมาย 2.หมู่บ้าน/ชุมชน สถานที่งานราชการ สถานที่สาธารณะ มีเครือข่ายการพัฒนาการจัดการขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างครอบคลุมและเป็นรูปธรรม 3.สามารถลดอุบัติการและอัตราการเกิดโรคติดต่อในชุมชนได้อย่างเด่นชัด 4.สุขภาพของประชาชนดีขึ้นมีความรัก สามัคคี และสัมพันธภาพที่ดีในหมู่คณะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 00:00 น.