กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกน้อยฟันดี ปี 2565 เขตเทศบาลเมืองตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
รหัสโครงการ 65L7487116
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตากใบ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 15 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศิรินทรา ชะม้าย
พี่เลี้ยงโครงการ นายภุชงค์ วงศ์หิรัญรัชต์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการป้องกันเป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นมาก เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เข้าถึงการรักษาและการได้รับบริการทางทันตกรรม มีข้อจำกัดหลายด้าน การที่เด็กเล็กและเยาวชนมีสุขภาพช่องปาก สุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และในยุคปัจจุบันเด็กๆมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขนมขบเคี้ยว เช่น ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต คุกกี้ ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กบริโภคอาหารเหล่านี้มักทำให้เกิดปัญหาเรื่องฟันผุ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนมส่งผลเสียต่อเด็กในหลายด้าน กล่าวคือ ถ้าเด็กฟันผุมากจะมีอาการปวดฟัน ไม่มีฟันสำหรับบดเคี้ยวอาหาร ส่งผลให้เด็กได้รับอาหารน้อยกว่าความต้องการ เกิดปัญหาทุพโภชนาการตามมา เด็กที่มีอาการปวดฟันจะส่งผลให้เด็กนอนหลับไม่เพียงพอ หงุดหงิด งอแง ส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของเด็กและผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมักจะมีฟันแท้ผุตามมาในอนาคต ฟันผุมักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กเป็นส่วนมากเนื่องจากเด็กวัยนี้ไม่สามารถดูแลความสะอาดช่องปากและฟันของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อจำกัดด้านพัฒนาการโดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็ก การป้องกันฟันผุในเด็กวัยนี้จำเป็นต้องปลูกฝังให้เด็กรู้จักการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันโดยเฉพาะการแปรงฟัน โดยจำเป็นต้องมีการแปรงฟันอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ โดยแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
จากการสำรวจสภาวะการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มเด็กอายุ 3 ขวบในเขตพื้นที่อำเภอตากใบ ปี 2564 พบว่าเด็กมีฟันผุร้อยละ 45.15 ซึ่งเป็นปัญหาอันเนื่องจากขาดการแปรงฟันที่มีประสิทธิภาพ ขาดความดูแลเอาใจใส่    จากผู้ปกครองในเรื่องทันตสุขภาพ การลดการบริโภคอาหารหวาน และการจัดการเรียนรู้ทางทันตสุขภาพ ทางกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลตากใบ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการแปรงฟันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตเทศบาลเมืองตากใบ โดยจัดทำโครงการและดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะ มีทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไป และเพื่อส่งเสริมให้เด็กรักษาสุขภาพช่องปากและฟันของตนเองจนเกิดเป็นนิสัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองมีทัศนคติ และเกิดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีทักษะในการแปรงฟันให้ลูกน้อยอย่างถูกวิธี 3. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในการตรวจสุขภาพช่องปากของลูกน้อยในเบื้องต้น 4. เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุในเด็ก

๑. ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม ๒. ประเมินประสิทธิภาพในการแปรงฟัน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,800.00 0 0.00
1 ก.พ. 65 - 15 ธ.ค. 65 อบรมให้ความรู้ 0 27,800.00 -

1.ขั้นเตรียมการ 1. สำรวจข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทันตสุขภาพ 2. รวบรวมข้อมูล 3. วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาสาเหตุของปัญหาและวางแผนการดำเนินการ 4. นำเสนอที่ปรึกษา 5. ร่างโครงการ 2.ขั้นดำเนินการ   กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครองและฝึกทักษะการตรวจสุขภาพช่องปาก
        เบื้องต้นแก่ผู้ปกครอง   กิจกรรมที่ 2 ฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธีให้แก่ผู้ปกครอง   กิจกรรมที่ 3 ทาฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ 3.ขั้นประเมินการวิธีการดำเนินงาน ประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองเด็กชั้นเตรียมอนุบาล สามารถทำความสะอาดช่องปากเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและการตรวจสุขภาพช่องปากของลูกน้อยเบื้องต้น 3.ผู้ปกครองมีทักษะในการแปรงฟันให้ลูกน้อยอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 11:39 น.