กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง12 สิงหาคม 2565
12
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางแก่นักเรียนชั้น ป.1- ป.6

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางแก่นักเรียนชั้น ป.1- ป.6 ดังนี้ - ให้ความรู้แก่นักเรียนในการป้องกันภาวะโลหิตจาง เช่น การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก - จ่ายยาเม็ดธาตุเหล็กให้แก่นักเรียนชั้น ป.1- ป.6 รับประทานสัปดาห์ละ 1 เม็ด ระยะเวลา 32 สัปดาห์ โดยขอความร่้วมมือจากโรงเรียนในการดำเนินงานมอบหมายครูประจำชั้นจ่ายยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กนักเรียนชั้น ป.1- ป.6 คนละ 1 เม็ด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารกลางวันทุกวันจันทร์ (ยกเว้นนักเรียนที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย) พร้อมลงบันทึกการรับประทานยาในแบบบันทึก - จ่ายยาถ่ายพยาธิอัลเบนดาโซน (200 มก.) แก่ชั้น ป.1- ป.6 รับประทานคนละ 2 เม็ด /ปีการศึกษา ดดยขอความร่วมมือจากโรงเรียนในการจ่ายยาถ่ายพยาธิแก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาทุกคน คนละ 2 เม็ด พร้อมลงบันทึกการรับประทานยาในแบบบันทึก - ประเมินภาวะโลหิตจาง โดยการสุ่มเจาะเลือดจากปลายนิ้ว 10 % ของนักเรียนของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ 4 โรงเรียน

กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน12 สิงหาคม 2565
12
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน ป.1 - ป.4 เป็นรายบุคคล และแนะนำการตรวจสุขภาพโดยใช้แบบตรวจสุขภาพด้วยตนเองแก่นักเรียนชั้น ป.5 ขึ้นไป และให้ความรู้แก่นักเรียนและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องพร้อมให้การรักษาเบื้องต้นแก่นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้น ป.5 ได้จัดสรรแบบบันทึกการตรวจสุขภาพนักเรียนด้วยตนเอง เพื่อสนับสนุนให้แก่นักเรียนชั้น ป.5 และชั้น ม.1 ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองและส่งเสริมให้เด็กเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพและปลูกฝังการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ในการตรวจสุขภาพด้วยตนเองภาคเรียนละ 1 ครั้ง และให้ใช้ต่อเนื่องทุกปีการศึกษาและเลื่อนชั้นตามตัวนักเรียน
  2. ให้การรักษา/คำแนนะนำแก่นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในนักเรียนที่มี เหา มีแผล ผื่นคัน กลากเกลื้อน หวัด และส่งรักษาต่อในนักเรียนที่มีปัญหาฟันผุ
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ11 สิงหาคม 2565
11
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

08.00 - 08.45 น. ลงทะเบียน/ประเมินควารู้ก่อนอบรม 08.45 - 09.00 น. พิธีเปิด  กล่าวรายงานโดย รองนายกเทศมนตรี                         กล่าวเปิด  โดย  นายกเทศมนตรีเมืองกันตัง 09.00 -09.30 น. ความสำคัญและบทบาทของนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ/เยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน  โดย  วิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง 09.30 10.30 น. สุขบัญญัติและการส่งเสริมสุขภาพอนามัย โดย วิทยากรจากสำนักงานสาธาณณสุขอำเภอกันตัง 10.30 12.00 น. ความรู้เรื่อง  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมาตรการการเฝ้าระวังและป้องกันโรค  โดย วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 -16.00 น.  ฝึกอบรมวิชาการด้วยฐานการเรียนรู้  โดย วิทยากรจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 ตรัง  และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง  (วิทยากรประจำฐานละ 1 คน)                         - ฐานการเรียนรู้ที่ 1 ทักษะการตรวจร่างกายเบื้องต้น/การวัดสายตา                       - ฐานที่ 2 การป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย                       - ฐานที่ 3 การประเมินภาวะโภชนาการ/การชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง และคำนวณดัชนีมวลกาย                       - ฐานที่ 4 เทคนิคการตรวจและแปลผล ATK (Antigen Test Kit) /การใส่หน้ากากอนามัย/การล้างมือ 7 ขั้นตอน 16.00 - 16.30 น. ประเมินความรู้หลังการอบรม สรุปกิจกรรมการดำเินงานของนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ ปิดการอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ/เยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน และครูอนามัยโรงเรียนรวมจำนวน 60 คน เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ดดยวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตังและศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 ตรัง
  2. วิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ/เยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน และครูอนามัยโรงเรียน  ในเรื่อง

- ความสำคัญและบทบาทของนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ/เยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน
- สุขบัญญัติและการส่งเสริมสุขภาพอนามัย โดย วิทยากรจากสำนักงานสาธาณณสุขอำเภอกันตัง - ความรู้เรื่อง  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมาตรการการเฝ้าระวังและป้องกันโรค  โดย วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง - ฝึกอบรมวิชาการด้วยฐานการเรียนรู้  โดยแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับลการอบรมเป็น 4 กลุ่มย่อย โดย วิทยากรจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 ตรัง  และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง  (วิทยากรประจำฐานละ 1 คน) ดังนี้                       - ฐานการเรียนรู้ที่ 1 ทักษะการตรวจร่างกายเบื้องต้น/การวัดสายตา                       - ฐานการเรียนรู้ที่ 2 การป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย                       - ฐานการเรียนรู้ที่ 3 การประเมินภาวะโภชนาการ/การชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง และคำนวณดัชนีมวลกาย                       - ฐานการเรียนรู้ที่ 4 เทคนิคการตรวจและแปลผล ATK (Antigen Test Kit) /การใส่หน้ากากอนามัย/การล้างมือ 7 ขั้นตอน 3. ขอความร่วมมือครูอนามัยโรงเรียน สนับสนุนบทบาทนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน เช่น การตรวจสุขภาพนักเรียน  การตรวจวัดสายตา การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ การเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก และการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยนักเรียนต้องเป็นอาสาสมัครช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกันและดูแลรุ่นน้อง  ดังนี้ - ติดตามข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พื้นที่เสี่ยง คำแนะนำการป้องกันตัเอง และการลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของโรคจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถได้ - ช่วยครูตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิร่างกายของนักเรียนทุกคนที่มาเรียนในตอนเช้า  บริเวณทางเข้าโรงเรียน เน้นการจัดเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล - ตรวจดูความเรียบร้อยของนักเรียนที่เข้ามาเรียน ต้องสวมหน้ากากอนามัย - เฝ้าสังเกตอาการของนักเรัียน หากมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก ให้รีบแจ้งรูทันที - จัดกิจกรรมให้ความรู้คำแนะนำการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แก่เพื่อนนักเรียน เช่น สอนการล้างมือที่ถูกวิธี  การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลหรือจัดทำป้ายแนะนำต่างๆ - จัดเวรทำความสะอาดห้องเรียน และบริเวณจุดสัมผัสเสี่ยงทุกวัน - เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 โดยถือปฏฺบัติเป็นสุขนิสัยกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ 4. การประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรมก่อน-หลังการอบรม จำนวน 10 ข้อ ผลการประเมินความรู้ดังนี้ - ก่อนการอบรม  ผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 5.65
- หลังการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมำด้คะแนนเฉลี่ย 9.25