กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. การอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ/เยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน และครูอนามัยโรงเรียนรวมจำนวน 60 คน ในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 08.00 น. -16.30 น. ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง รวมทั้งสามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และสามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพ และช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนในการให้บริการงานอนามัยโรงเรียน โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตังและศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 ตรัง
  2. จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน ป.1 - ป.4 เป็นรายบุคคล และแนะนำการตรวจสุขภาพโดยใช้แบบตรวจสุขภาพด้วยตนเองแก่นักเรียนชั้น ป.5 ขึ้นไป และให้ความรู้แก่นักเรียนและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องพร้อมให้การรักษาเบื้องต้นแก่นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้น ป.5 ได้จัดสรรแบบบันทึกการตรวจสุขภาพนักเรียนด้วยตนเอง เพื่อสนับสนุนให้แก่นักเรียนชั้น ป.5 และชั้น ม.1 ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองและส่งเสริมให้เด็กเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพและปลูกฝังการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ในการตรวจสุขภาพด้วยตนเองภาคเรียนละ 1 ครั้ง และให้ใช้ต่อเนื่องทุกปีการศึกษาและเลื่อนชั้นตามตัวนักเรียน
  3. ให้การรักษา/คำแนนะนำแก่นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในนักเรียนที่มี เหา มีแผล ผื่นคัน กลากเกลื้อน หวัด และส่งรักษาต่อในนักเรียนที่มีปัญหาฟันผุ
  4. จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางแก่นักเรียนชั้น ป.1- ป.6 ดังนี้

- ให้ความรู้แก่นักเรียนในการป้องกันภาวะโลหิตจาง เช่น การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก - จ่ายยาเม็ดธาตุเหล็กให้แก่นักเรียนชั้น ป.1- ป.6 รับประทานสัปดาห์ละ 1 เม็ด ระยะเวลา 32 สัปดาห์ โดยขอความร่้วมมือจากโรงเรียนในการดำเนินงานมอบหมายครูประจำชั้นจ่ายยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กนักเรียนชั้น ป.1- ป.6 คนละ 1 เม็ด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารกลางวันทุกวันจันทร์ (ยกเว้นนักเรียนที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย) พร้อมลงบันทึกการรับประทานยาในแบบบันทึก - จ่ายยาถ่ายพยาธิอัลเบนดาโซน (200 มก.) แก่ชั้น ป.1- ป.6 รับประทานคนละ 2 เม็ด /ปีการศึกษา ดดยขอความร่วมมือจากโรงเรียนในการจ่ายยาถ่ายพยาธิแก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาทุกคน คนละ 2 เม็ด พร้อมลงบันทึกการรับประทานยาในแบบบันทึก - ประเมินภาวะโลหิตจาง โดยการสุ่มเจาะเลือดจากปลายนิ้ว 10 % ของนักเรียนของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ 4 โรงเรียน 5. ตรวจคัดกรองสายตานักเรียนชั้น ป.1 ทุกคน และส่งต่อนักเรียนที่มีภาวะสายตาผิดปกติ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เติบโตสมวัย และสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ
ตัวชี้วัด :

 

2 เพื่อควบคุมป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียน
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 100 นักเรียนชั้น ป.1 - ป.4 ได้รับการตรวจสุขภาพโดยบุคลากรสาธารณสุข และนักเรียนชั้น ป.5 ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพด้วยตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2. ร้อยละ 100 นักเรียนชั้น ป.1 ได้รับการทดสอบสายตาปีละ 1 ครั้ง 3. ร้อยละ 100 นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการรักษาเบื้องต้นหรือส่งต่อรักษา 4. ร้อยละ 100 นักเรียนชั้น ป.1 ขึ้นไป ได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก 1 เม็ด/สัปดาห์

 

3 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาพนักเรียน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้ถูกต้อง

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เติบโตสมวัย และสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ (2) เพื่อควบคุมป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียน (3) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาพนักเรียน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (2) กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน (3) กิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh