กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ27 มิถุนายน 2565
27
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน/ชี้แจงการใช้แบบประเมินสภาวะสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 09.00- 10.50 น. บรรยายเรื่อง สถานการณ์ผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของผู้สูงอายุ และหลักการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น 10.50 - 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง 11.00 - 12.00 น. บรรยายเรื่อง  บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 16.00 น. แบ่งกลุ่มเรียนรู้ 4 ฐาน  พร้อมประเมินทักษะ  ฐานที่ 1  การประเมินความสมารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ( Barthel ADL Index ) ฐานที่ 2 การประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ/การดูแลสภาพแวดล้อมในบ้าน ฐานที่ 3 การออกกำลังกาย/การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้สูงอายุ  และฐานที่ 4 โภชนาการผู้สูงอายุ
16.00 -16.30 น. สรุปผลการเรียนรู้/ตอบข้อซักถาม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน  เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 65 ณ อาคาคคอซิมบี๊ เทสบาลเมืองกันตัง  ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับ สถานการณ์ผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของผู้สูงอายุ และหลักการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น บทาทหน้าที่ของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) และแบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้พร้อมประเมินทักษะ  โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตังและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง  4 ฐาน  คือ ฐานที่ 1  การประเมินความสมารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ( Barthel ADL Index ) ฐานที่ 2 การประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ/การดูแลสภาพแวดล้อมในบ้าน ฐานที่ 3 การออกกำลังกาย/การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้สูงอายุ  และฐานที่ 4 โภชนาการผู้สูงอายุ
    ผลการปะเมินทักษะ 1.1 ฐานที่ 1  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้และแปลผลการประเมินความสมารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุได้ถูกต้อง จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 85.00
    1.2 ฐานที่ 2 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้และประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุได้ถูกต้อง  จำนวน 87 คน  คิดเป็นร้อยละ 87.00
    1.3 ฐานที่ 3 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้และปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้สูงอายุ  จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 84 1.4 ฐานที่ 4 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้และประเมินภาวะโภชนาการผู้สูงอายุได้ถูกต้อง จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 78
  2. กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.)