กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงกา่รเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 65 - L5279 - 02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 8
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มกราคม 2565 - 15 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 24,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชะอ้อน ศรีสมบูรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837,100.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (24,050.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แต่ความชุกและอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในชุมชนเมืองและชนบท อีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจะเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมองทำให้เป็นอัมพาตได้ อีกทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และมีความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติ รวมไปถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและพยาธิสภาพของโรค ซึ่งอาจทำให้เกิดความพิการ หรือไร้สมรรถภาพ เช่นไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดโรคจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์และความเครียด รวมถึงการดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมแล้วก็จะสามารถควบคุม ป้องกันไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ มีอายุยืนยาวและมีความสุข อีกทั้งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยเรื้อรังของรัฐด้วย จากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในหมู่  ที่ 8 ซึ่งดำเนินการโดยสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ ตำบลพะตง และ ทีม อสม. หมู่ที่ 8 พบว่าผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน 24 คน ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 12 ราย และ  ผู้ที่มีค่า BMI เกินค่าปกติ (ค่าปกติ คือ 18.5 – 22.9) มีจำนวนมาก ซึ่งผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2 ส และติดตามตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว และวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินอาการและเพื่อลดกลุ่มป่วยรายใหม่ อสม. หมู่ที่ 8 จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ 2564 ขึ้นเพื่อให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่อง 3 อ 2 ส ด้านการบริโภคอาหารด้านการออกกำลังกาย ด้านอารมณ์ และงดดื่มสุรา งดสูบบุหรี่ และติดตามตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว วัดความดันโลหิต เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยใหม่ด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคอ้วนในกลุ่ม BMI เกิน
  1. ผู้ป่วยใหม่จากโรคเบาหวานน้อยกว่าหรือ เท่ากับ 1.95(เกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขปี 2563)
  2. ผู้ป่วยใหม่จากโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.5 (เกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขปี 2563) 3.กลุ่ม  BMI เกินค่าปกติมีค่า BMI ลดลง จำนวน 80 % ของผู้เข้าร่วมโครงการ
50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 24,050.00 0 0.00
26 ม.ค. 65 - 15 ก.ย. 65 โครงการเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2565 50 24,050.00 -

กิจกรรมเฝ้าระวังติดตามเจาะน้ำตาลปลายนิ้วและวัดความดันโลหิต จำนวน 3 ครั้ง  (1 เดือน / 3เดือน/6เดือน)  โดย อสม ม.8
1. อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย  จำนวน 50 คน   ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท
2. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชม. ๆละ 600.-บาท 3. จัดซื้ออุปกรณ์เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 2,500.- บาท
4. ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 3,500.- บาท 5. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 1,500.- บาท
6. เข็มเจาะปลายนิ้ว จำนวน 2 กล่อง ๆ ละ 900.-บาท (กล่องละ 200 อัน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยใหม่จากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงลดลง ทำให้ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยของรัฐ
  2. ผู้ป่วยใหม่จากโรคเบาหวานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.95 (เกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขปี 2563)
  3. ผู้ป่วยใหม่จากโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.5 (เกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขปี 2563)
  4. กลุ่ม BMI เกินค่าปกติดมีค่า BMI ลดลง จำนวน 80% ของผู้เข้าร่วมโครงการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 13:13 น.