กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดกิจกรรมอบรมประชุมแกนนำสุขภาพ/แกนนำผู้นำชุมชน โดยดำเนินการร่วมกันทั้ง 9 ชุมชนคือ ชุมชนหลาโป ชุมชนกิตติคุณ ชุมชนหลังสโมสรเก่า ชุมชนโรงพยาบาลกันตัง ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ชุมชนป่ามะพร้าว ชุมชนป่าไม้ ชุมชนหลังโรงเรียนคลองภาษี และชุมชนในทอน (ซึ่งงบประมาณค่าสมนาคุณวิทยากรและค่าป้ายไวนิลโครงการเบิกจากโครงการชุมชนหลาโป-หลังควน ประสานใจ ต้านภัยโควิด-19 ปี 2565) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง มีแกนนำสุขภาพ/แกนนำผู้นำชุมชนป่าไม้ เข้ารับการอบรม 10 คน ให้ความรู้เรื่องมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 ของจังหวัดตรัง การดำเนินงานควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในชุมชน สถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในจังหวัดตรัง และวัคซีนโควิด-19 โรคโควิด-19 และภาวะ Long Covid และมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 หลังจากที่จะปรับเป็นโรคประจำถิ่น โดยวิทยากรจากเทศบาลเมืองกันตังและโรงพยาบาลกันตังมาให้ความรู้ดังกล่าว
  2. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น ป้ายไวนิลความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 โดยติดตั้งตามจุดสำคัญในชุมชน จำนวน 2 จุด และป้ายบอร์ดประชาสัมพันธ์มีด้ามจับ จำนวน 5 แผ่น เพื่อใช้ในการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน เป็นต้น
  3. กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้การป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในชุมชน จำนวน 3 วัน โดยแกนนำสุขภาพในชุมชน/แกนนำผู้นำชุมชน ลงพื้นที่รณรงค์เคาะประตูบ้านให้ความรู้เรื่องโควิด-19 แก่ประชาชนในชุมชน รณรงค์การฉีดวัคซีนโควิด-19 และเน้นย้ำมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  4. กิจกรรมค้นหา/คัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง  การควบคุมผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันโรคโควิด-19 ในชุมชนที่เข้าระบบการรักษาแบบ HI โดยแกนนำสุขภาพในชุมชนดำเนินการ ดังนี้

- สำรวจ ค้นหา และขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคโควิด-19 ในชุมชน - ติดตามวัดอุณหภูมิ/เฝ้าระวังสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงโรคโควิด-19 ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด - ติดตามควบคุมผู้ติดเชื้อยืนยันโควิด-19 กรณีเข้าระบบรักษาแบบ HI ให้เป็นไปตามมาตรการ - รายงานผลการเฝ้าระวังให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ
จากการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2565 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19  จำนวน 114 ราย
5. สรุปค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ ทั้งสิ้น จำนวน  12,660 บาท ดังนี้   1). กิจกรรมอบรมชี้แจงแกนนำสุขภาพในชุมชน/แกนนำผู้นำชุมชน - ค่าอาหารกลางวัน เป็นเงิน  700 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน  600 บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม  เป็นเงิน    50 บาท   2). กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้การป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน จำนวน 3 วัน - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 2 ผืน เป็นเงิน  650 บาท - ค่าสติกเกอร์ขาวติดฟิวเจอร์บอร์ดประชาสัมพันธ์มีด้ามจับ 5 แผ่น
เป็นเงิน  1,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการเดินรณรงค์ เป็นเงิน  540 บาท - ค่าเอกสาร/แผ่นปลิว เป็นเงิน  556 บาท - ค่าเครื่องขยายเสียงชนิดลากพร้อมอุปกรณ์ 1 เครื่อง เป็นเงิน  3,074 บาท   3). กิจกรรมค้นหา/คัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง/ควบคุมผู้ป่วยระบบ HI - ค่าเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ขนาด 500 มล. 6 ขวดเป็นเงิน  900 บาท - ค่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 6 กล่อง เป็นเงิน  750 บาท - ค่าถุงมือทางการแพทย์ 4 กล่อง เป็นเงิน  800 บาท - ค่าหน้ากาก FACE SHIELD 10 ชิ้น เป็นเงิน  150 บาท
- ค่าหมวกคลุมผมทางการแพทย์ 1 แพ็ค เป็นเงิน  150 บาท - ค่าปรอทวัดไข้ดิจิตอล 6 ชิ้น เป็นเงิน  570 บาท - ค่าป้ายไวนิลติดบ้านกลุ่มเสี่ยงสูง/กลุ่มป่วย 15 ผืน เป็นเงิน  600 บาท - ค่าเอกสาร (ใบคำสั่งกักตัว/ใบยินยอม/ใบติดตามวัดอุณหภูมิ) เป็นเงิน  500 บาท - ค่าวัสดุ/อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน  1,070 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน/แกนนำผู้นำชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน
ตัวชี้วัด :

 

2 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 100 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคโควิด-19 ในชุมชนได้รับการคัดกรอง/เฝ้าระวังโรคโควิด-19 2. ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันโรคโควิด-19 ในชุมชนได้รับการติดตามควบคุมให้อยู่ในมาตรการการรักษาแบบ HI ของกระทรวงสาธารณสุข

 

3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของครัวเรือนเป้าหมายได้รับความรู้/คำแนะนำในการดูแลป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 535
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 535
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน/แกนนำผู้นำชุมชน  มีความรู้ ความเข้าใจ  ในการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน (2) เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในชุมชน (3) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมชี้แจงแกนนำสุขภาพในชุมชน/แกนนำผู้นำชุมชน (2) กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้การป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน  จำนวน 3 วัน (3) กิจกรรมค้นหา/คัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง/ควบคุมผู้ป่วยระบบ HI

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh