กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุง ลดโรค ในคลินิก DPAC และชุมชน รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-50105-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,331.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิรานันท์ บุตรบุรี รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 452 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 414 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 441 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
27.16
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
7.82
3 ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
48.30
4 ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี
25.39
5 ร้อยละประชากรกลุ่มวัยทำงานมีค่าดัชนีมวลกายเกิน
40.55
6 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
69.92
7 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
52.98

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจน โรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ได้แก่ ข้อเข่าเสื่อม ภาวะอัมพฤกษ์อัมพาต ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้นและยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง๒๐ – ๗๔ปีกว่าครึ่งหนึ่ง มีผลมาจากความอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ยังเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ ๑๗ล้านคนและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าในปีพ.ศ.๒๕๖๕ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวประมาณ๒๕ล้านคน ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค เป็นภาระของครอบครัวและประเทศ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าร้อยละ๒-๘ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลกระทบจากโรคอ้วน ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก๑๐ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2557 พบว่าทั่วโลกผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25กก./ตร.ม.ขึ้นไป) ประมาณ 1,900 ล้านรายและเป็นโรคอ้วน (ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30กก./ตร.ขึ้นไป) อย่างน้อย 600 ล้านราย นั่นคือ ร้อยละ 39 ของผู้ใหญ่ในโลกนี้ มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน อีกด้วย ในประเทศไทย โรคอ้วนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากถึง 20,000 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 5.1 ของการเสียชีวิตทั้งหมดในปี พ.ศ. 2557 และจากผลสำรวจสุขภาพล่าสุด พบว่าคนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไปป่วยเป็นโรคอ้วน ติดอันดับ 5 ของเอเชียแปซิฟิก โดยมีคนอ้วนมากถึง17 ล้านคนทั่วประเทศ และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 ล้านคนต่อปีภาวะอ้วนลงพุงส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค กรรมพันธุ์ และไม่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง จากการคัดกรองภาวะสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2564 พบว่าประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง 1,436 คน พบเสี่ยง(ระดับน้ำตาลในเลือด 100-126 mgdl) จำนวน 390 คน คิดเป็นร้อยละ27.16พบเสี่ยงสูง (ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 mgdl) จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ2.99 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการคัดกรอง 1,241 คนพบเสี่ยง(ระดับความดันโลหิต SBP120-139 mmHg หรือ DBP 80-89 mmHg) จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 7.82 พบเสี่ยงสูง (ระดับความดันโลหิต SBP>=140mmHg หรือ DBP >=90 mmHg)) จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 0.89 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง นอกจากนั้นพบว่าประชากรวัยทำงานมีค่าดัชนีมวลกายเกิน ร้อยละ40.55 (จากระบบHDCสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง วันที่ 30 มกราคม 2565 ) ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดพุง ลดโรค ในคลินิก DPAC และในชุมชน รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ประจำปี2565 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรัง สามารถควบคุมและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนมีความเสี่ยงโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ มีระดับน้ำตาลลดลง ร้อยละ 10

27.16 0.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชาชนมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าความดันโลหิตลดลง ร้อยละ 10

7.82 0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5

48.30 0.00
4 เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุง ลดโรค ของประชาชนที่มีค่าดัชนีมวลกายเกิน

ร้อยละของประชาชนที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าดัชนีมวลกายลดลง ร้อยละ 10

25.39 0.00
5 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน

มีกลุ่มออกกำลังกายในชุมชนอย่างน้อย 1 กลุ่ม

0.00 1.00
6 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

69.92 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 340 34,331.00 0 0.00
9 - 13 พ.ค. 65 ดำเนินการกิจกรรมรณรงค์การออกกำลังกายในหมู่บ้าน จำนวน 1 ครั้ง เพื่อสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน หมู่บ้านละ 30 คน จำนวน 5 หมู่บ้าน รวม 150 คน 175 7,850.00 -
24 พ.ค. 65 กิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ ครั้งที่1 33 5,775.00 -
31 พ.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ 33 7,545.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 ดำเนินการออกกำลังกาย ในคลินิก DPAC สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง จำนวน 8 สัปดาห์ 33 12,336.00 -
1 - 31 ก.ค. 65 ติดตามภาวะสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ ครั้งที่2 33 825.00 -
29 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน 33 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละของประชาชนมีความเสี่ยงโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ มีระดับน้ำตาลลดลง ร้อยละ 10
2.ร้อยละของประชาชนมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าความดันโลหิตลดลง ร้อยละ 10
3.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5
4.ร้อยละของประชาชนที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าดัชนีมวลกายลดลง ร้อยละ 10
5.มีกลุ่มออกกำลังกายในชุมชนอย่างน้อย 1 กลุ่ม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2565 13:18 น.