กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนเกาะเต่าสูงวัยใส่ใจสุขภาพช่องปาก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลเกาะเต่า
วันที่อนุมัติ 15 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 64,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุทินสุวรรณมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.783,99.799place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากนับเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย และกลุ่มวัยที่ปัจจุบันก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นั่นคือ วัยผู้สูงอายุ จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ ๗พ.ศ.๒๕๕๕ พบว่าผู้สูงอายุ ๖๐-๗๔ ปี มีความชุกของโรคปริทันต์อักเสบเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๓๒.๑ ผู้สูงอายุภาคใต้ มีร่องลึกปริทันต์ตั้งแต่ ๖ มิลลิเมตรขึ้นไป สูงกว่าภาคอื่นๆ สำหรับโรคฟันผุของผู้สูงอายุในเขตชนบท มีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการสูญเสียฟันในอนาคต ร้อยละ ๕๑.๔ ซึ่งสูงกว่าเขตเมืองและกรุงเทพมหานคร แต่มีการอุดฟันน้อยกว่าอย่างชัดเจนมาก การผุจะเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ ๖๐-๗๔ ปีเป็นร้อยละ ๑๗.๒ อีกทั้งค่าเฉลี่ยฟันที่เหลืออยู่ของผู้สูงอายุมีฟันแท้เหลือในปาก เฉลี่ยเพียง ๑๘.๘ ซี่ต่อคน ซึ่งทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวที่ดีผู้สูงอายุควรมีฟันใช้งานได้ไม่น้อยกว่า ๒๐ ซี่ โดยตัวชี้วัดสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือคู่สบฟันหลัง เป็นการวัดประสิทธิภาพการบดเคี้ยว ซึ่งควร มีอย่างน้อย ๔ คู่สบ จึงจะเพียงพอต่อการบดเคี้ยว ก็พบว่าผู้สูงอายุ ๖๐-๗๔ ปี มี ๓.๒ คู่/คน และลดลงอีกจนเหลือเพียง๑ คู่/คน เมื่ออายุ ๘๐ ปีนั่นหมายถึง เมื่ออายุเพิ่มขึ้นประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุไทยจะลดลง (จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ ๗ โดยสำนักงาน ทันตสาธารณสุข กรมอนามัย พ.ศ. ๒๕๕๖) ดังนั้น จากสภาวะดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุจำนวนมากยังไม่ได้รับการดูแล และส่งเสริมสุขภาพช่องปากมากนัก ประสบปัญหาสุขภาพช่องปากอยู่ ประกอบกับประเทศไทยของเราเริ่มเดินหน้าเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุ นับจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุก ๆ ปี โดยเฉลี่ยแล้วทุกปี ประเทศไทยเราจะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประมาณปีละ ๑ แสนคน โดยที่นับที่เกณฑ์อายุเริ่มต้นที่ ๖๕ ปี เป็นต้นไป สำหรับพื้นที่ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ผู้สูงอายุได้รับการตรวจช่องปากโดยทันตบุคลากรมีจำนวน ๑๗๑ คน พบมีฟันเฉลี่ย ๑๙ ซี่/คน และผู้สูงอายุที่ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันจำนวน ๖๖ คนเท่านั้น (ข้อมูลจากโปรแกรม HDC ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง) จากเหตุข้างต้นกลุ่มผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี และเหมาะสม ชมรมผู้สูงอายุตำบลเกาะเต่าได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดทำโครงการคนเกาะเต่าสูงวัยใส่ใจสุขภาพช่องปาก เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และให้ได้การรักษาทางทันตกรรมตามความจำเป็น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเผยแพร่ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ

 

2 ๒. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการให้บริการทางทันตกรรมของผู้สูงอายุ

 

3 ๓. เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมาย ๒. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
๓. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานตามโครงการ วางแผน กำหนด แนวทางการดำเนินงาน ๔. วางแผน และกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรมจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้สูงอายุ
๕. ประชาสัมพันธ์โครงการ/แผนการออกปฏิบัติงานของหน่วยบริการผ่านหอกระจายข่าว อสม. ผู้นำชุมชน ๖. ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้สูงอายุตามแผนที่กำหนด โดยมีรูปแบบของกิจกรรม ดังนี้ ๖.๑ ตรวจสุขภาพช่องปาก พร้อมให้บริการนัดผู้สูงอายุเข้ารักษาทางทันตกรรม ๖.๒ ให้ความรู้เรื่องโรคในช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ๖.๓ สอนผู้สูงอายุฝึกการแปรงฟันอย่างถูกวิธี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มผู้สูงอายุตำบลเกาะเต่า มีความรู้ด้านทันตสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปาก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2560 14:50 น.