โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี หมู่ที่ 5-7 ตำบลดุซงญอ
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี หมู่ที่ 5-7 ตำบลดุซงญอ |
รหัสโครงการ | 65-L2476-1-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย-กาเต๊าะ |
วันที่อนุมัติ | 22 มีนาคม 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2565 |
งบประมาณ | 7,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอนุ พันธ์โภชน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ | 15.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของประเทศชาติ เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา จึงควรได้รับการส่งเสริมในทุกๆด้านกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญาโดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือเด็กอายุ 0- 5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-5ปี) ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย-กาเต๊าะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕6๔ พบว่าเด็กอายุ 0-5 ปี มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ ๑0.34 มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งเด็กในวัยดังกล่าวกำลังมีการเจริญเติบโตของสมอง สารอาหารโปรตีนมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสมอง หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งจะเป็นกำลังของประเทศชาติในอนาคต สาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ด้านโภชนาการศึกษาของผู้ปกครอง เป็นผลให้เด็กได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ในการดำเนินการที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้มีการติดตามเยี่ยมผู้ปกครอง แต่การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและจำเป็น
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย-กาเต๊าะ จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี หมู่ที่ 5-7 ตำบลดุซงญอขึ้น เพื่อพัฒนางานโภชนาการและติดตามโภชนาการในชุมชน และแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มีจำนวนลดลง |
15.00 | 15.00 |
2 | เพื่ออบรมเสริมความรู้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก ๐ -5 ปี แก่ผู้ปกครองเด็กมี น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
|
0.00 | |
3 | เพื่อคัดกรองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการพร้อมให้การดูแล รักษาและฟื้นฟู
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 30 | 7,600.00 | 2 | 7,600.00 | |
3 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 | ดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0 – 5 ปี โดยการชั่งน้ำหนัก ทุกๆเดือนในเด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์ | 15 | 5,400.00 | ✔ | 5,400.00 | |
1 - 30 ก.ค. 65 | อบรมเสริมความรู้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก 0 - 5 ปี แก่ผู้ปกครองเด็กมี น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ | 15 | 2,200.00 | ✔ | 2,200.00 |
- เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการ
- ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 -5 ปี ที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เข้ารับการอบรมเสริมความรู้
- อัตราเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2565 00:00 น.