กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกาบุ๊ (ครั้งที่ 1) ประจำปีงบประมาณ 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกาบุ๊ (ครั้งที่ 1) ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L6958-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ปะลุกาสาเมาะ
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กุมภาพันธ์ 2565 - 28 กุมภาพันธ์ 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2565
งบประมาณ 14,640.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซาปียะ มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.ปะลุกาสาเมาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ยังคงแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยในทุกเขตทั่วราชอาณาจักร เนื่องจากปรากฏกรณีไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายและมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ แต่ด้วยพบว่าไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ไม่ทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดอาการป่วยที่รุนแรง และปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ลดลง รัฐบาลจึงได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ เพื่อรักษาสมดุลด้านความมั่นคงทางสาธารณสุขกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติ นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจและระบบสาธารณสุขแล้ว หนึ่งในผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่หนักหนาสาหัสมากคือ การเรียนรู้/การศึกษาของเด็กและเยาวชนไทย ในช่วงที่มีการระบาดของโรคเด็กนักเรียนต้องหยุดการเรียนการสอนในโรงเรียนและมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย แม้จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนให้เอื้อกับสถานการณ์ในปัจจุบันแต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเรียนในห้องเรียนได้ จากการสำรวจระดับความพร้อมของการเ รียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทย พบว่า ระดับความพร้อมของการเรียนรู้ถดถอยลงประมาณ 0.32 - 0.39 ปี (ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต, 2565)
ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) เพื่อรักษาสมดุลและฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติ รวมถึงในส่วนของระบบการศึกษามีคำสั่งให้โรงเรียน/สถาบันการศึกษาทุกประเภทสามารถใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ได้ตามเหมาะสมและความพร้อม โดยรูปแบบของการดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัดและรัดกุม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในส่วนของการเปิดเรียนแบบ On-site กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขกำหนดหลักเกณฑ์ให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free setting (เปิดเทอมปลอดภัยห่างไกลโควิด-19) ดังนั้น เพื่อให้โรงเรียนในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะสามารถเปิดการเรียนการสอนแบบ On-site ได้อย่างปลอดภัยห่างไกลโรคตามหลักเกณฑ์ที่ราชการกำหนด
ในการนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ มีความประสงค์จะส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียน/สถาบันการศึกษาทุกประเภทในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะมีการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงและสุ่มตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เชิงรุกเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในกลุ่มบุคลากรและนักเรียนในพื้นที่
จึงเห็นควรให้จัดโครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกาบุ๊ (ครั้งที่ 1) ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,640.00 0 0.00
2 - 28 ก.พ. 65 กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้สร้างแกนนำให้มีความรู้ในการเฝ้าระวัง คัดกรอง และประเมินความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์ 0 3,300.00 -
2 - 28 ก.พ. 65 กิจกรรมที่ 2 คัดกรอง Antigen Test Kit (ATK) เชิงรุกให้กับบุคลากรและนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 11,340.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนและบุคลากรครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างครอบคลุม 2.มีแกนนำที่มีความรู้ในการเฝ้าระวัง คัดกรอง และประเมินความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์ 3.สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2565 00:00 น.