กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)ในศูนย์พัฒนาการศึกษาปฐมวัยเทศบาลตำบลนาทวี(ศูนย์1)
รหัสโครงการ 65-L5200-5-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาการศึกษาปฐมวัยเทศบาลตำบลนาทวี(ศูนย์1)
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 16,522.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรรณิกา ศิริประภา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ และในปี๒๕๖๔ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ๒๕๖๔ เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ๑๑/๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นคราวที่ ๑๓ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ยังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่รวมทั้งพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัจจุบันการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นเรื่องที่ น่ากังวล ฉะนั้นการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) อย่างเคร่งครัด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง   ในการนี้ จังหวัดสงขลาได้แจ้งเรื่อง มาตรการดำเนินการเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ประกอบกับข้อกำหนดตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๓๔) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ ศูนย์พัฒนาการศึกษาปฐมวัย เทศบาลตำบลนาทวี (ศูนย์ ๑) จะทำการเปิดการเรียนการสอน ณ สถานที่ตั้ง (on site) ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ เพื่อความปลอดภัยของเด็กเล็ก ครู และบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ควบคู่กับการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ในศูนย์พัฒนา การศึกษาปฐมวัยเทศบาลตำบลนาทวี (ศูนย์ ๑) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ด้วย Antigen Test Kit (ATK)ในศูนย์พัฒนาการศึกษาปฐมวัย เทศบาลตำบลนาทวี (ศูนย์ 1) 2.เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการการปฏิบัติด้านสาธารณสุขการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ 2.ประชุมคณะครูเพื่อรับฟังความคิดเห็น กำหนดรูปแบบ วิธีการจัดกิจกรรม กำหนดการ แบ่งหน้าที่ รับผิดชอบและการบริหารจัดการ 3.จัดทำร่างโครงการนำเสนอผู้บริหารเพื่อลงนามอนุมัติ ขั้นดำเนินการ 1.เตรียมความพร้อมก่อนเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านอาคาร สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และด้าน ผู้ปกครองของเด็ก 2.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) 4.ตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ด้วยAntigen Test Kit (ATK) ให้กับเด็กเล็ก ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา
5.ให้ความรู้ ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับแนวทางการการปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๓๙ (COVID-19) โดยเชิญวิทยากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6.ดำเนินการติดตามเกี่ยวกับแนวทางการการปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) จากผู้ปกครอง และบุคคลในครอบครัวของเด็กเล็กทุกคน 7.สรุปผลการดาเนินโครงการและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๗.๑ ศูนย์พัฒนาการศึกษาปฐมวัยเทศบาลตำบลนาทวี (ศูนย์ ๒) ได้รับการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงอย่างครอบคลุม
๗.๒ เด็กเล็ก ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางการการปฏิบัติ ด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2564 00:00 น.