กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชน
รหัสโครงการ 65-L1483-01-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2565 - 1 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ตำบลบางด้วน 6 หมู่บ้าน ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 – วันที่ 28 ธันวาคม 2564 ผู้ติดเชื้อสะสม จำนวน 17,765 ราย ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 52 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 113 ราย พบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน จึงจำเป็นต้องควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลบางด้วนมีผู้ติดเชื้อสะสม 103 ราย และยังไม่มีผู้เสียชีวิต และสถานการณ์ในพื้นที่ยังมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการระบาดอย่างต่อเนื่อง ประชาชนยังขาดความตระหนักในการป้องกันตนเอง มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่างๆ ตามวิถีชีวิตของคนในชุมชน เช่น สภากาแฟยามเช้า การรับประทานอาหารร่วมกัน กิจกรรมทำบุญรวมญาติ การตั้งวงดื่มเหล้า วงน้ำกระท่อม จึงต้องเน้นย้ำการปฏิบัติตนตามคำสั่งจังหวัดตรัง ที่ 4940/2654 เรี่อง มาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดตรัง ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2564
ตามมาตรการ 5 เร่ง จัดการโควิด-19 จังหวัดตรัง 1) เร่งค้นหาผู้ติดเชื้อ เพื่อเฝ้าระวังในพื้นที่ 5 ร 1 ต (โรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม โรงเรียน ร้านอาหาร ตลาด) รวมทั้งค้นหาเชิงรุกในพื้นที่การระบาดสูง เพื่อแยกกักกัน 2) เร่งรักษาผู้ติดเชื้อทุกรายทันที เพื่อลดอาการรุนแรง และลดการแพร่เชื้อ 3) เร่งสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน ให้ครอบคลุมมากที่สุด เร็วที่สุด 4) เร่งป้องกันเข้มข้น สร้างการมีส่วนร่วมให้พี่น้องชาวตรังปฏิบัติตนตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) 5) เร่งเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ให้การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วนจัดบริการตามมาตรการ 5 เร่ง โดยการจัดบริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี Antigen Test Kit (ATK) การสอบสวนโรค จ่ายยา Favipiravir ส่งต่อผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษา ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชน เพื่อรักษามาตรการป้องกันโรค กระตุ้นเตือนและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรักษาวินัย ป้องกันตนเอง ตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่ยังต้องคงมาตรการตามหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้ประชาชนป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 2. เพื่อเฝ้าระวังผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกับผู้ติดเชื้อโควิด-19

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้ประชาชนป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 2. เพื่อเฝ้าระวังผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกับผู้ติดเชื้อโควิด-19

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

3 ม.ค. 65 - 1 ก.ย. 65 โครงการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชน 19,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
  2. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. อบรมมาตรการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 และหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) แก่แกนนำครอบครัว
  4. รณรงค์ขอความร่วมมือให้ประชาชนปฏิบัติหลักการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) ทั้ง 6 หมู่บ้าน
  5. ในกรณีที่มีผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงกับผู้ติดเชื้อให้รายงานตัวกับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี Antigen Test Kit (ATK) และกักตัวเองที่บ้าน (Home Quarantine) เป็นระยะเวลา 7 วัน ปฏิบัติตัวตามแนวทางการกักกัน ติดตามเฝ้าระวังอาการโดยการวัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน รวมทั้งติดตามเฝ้าระวังอาการสำคัญ ตามกำหนด และส่งต่อเข้ารับการรักษาหากพบว่ามีผลการตรวจ ATK ผลเป็น Positive
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความตระหนักและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19
  2. อัตราป่วยด้วยโรคโควิด-19 ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2565 00:00 น.