กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนคร สงขลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
รหัสโครงการ 65-L7250-01-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักการศึกษา
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 802,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบรรณวิทย์ รัตนพิมล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 3813 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 538 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการเผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 21/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ แต่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด และจังหวัดสงขลาอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ที่ 160/2564 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เรื่อง มาตรการควบคุมพื้นที่ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) จังหวัดสงขลา ได้กำกับดูแลและติดตามการดำเนินการของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท รวมถึงสถาบันกวดวิชา ให้สามารถใช้อาคารหรือสถานที่ เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ในการนี้ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา      ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 34) ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2564 มีเงื่อนไขหลักของมาตรการ Sandbox : Safety Zone in School รองรับการเปิดภาคเรียนที่ 2/2564 โดยการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาแบบ on site จำแนกตามเขตพื้นที่การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ซึ่งจังหวัดสงขลาอยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) จึงต้องมีการตรวจคัดกรองหาเชื้อทุกคนในวันแรกของการเปิดเรียน และให้มีการสุ่มตรวจ Antigen Test Kit (ATK) กับนักเรียน ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นระยะๆ (ร้อยละ 10 - 15)    . ดังนั้น เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนแบบ on site ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ    และเพื่อความปลอดภัยของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา    จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ที่เหมาะสมเพียงพอ และมีประสิทธิภาพที่แม่นยำในการคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ภายในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 (1) เพื่อให้ครูทุกคนมีความรู้ในการใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด

(1) ร้อยละ 100 ของครูทุกคนสามารถใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ได้ถูกวิธี

100.00
2 (2) เพื่อดูแล ป้องกัน และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานศึกษา

(2) ร้อยละ 100 ของนักเรียน ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสังกัดเทศบาลนครสงขลาสามารถทำการคัด     กรองและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เบื้องต้นจากชุดตรวจ ATK ได้ผลเป็นลบ

100.00
3 (3) เพื่อจัดหาอุปกรณ์ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในการคัดกรองและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 เบื้องต้นในสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครสงขลา

(3) ลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานศึกษา

0.00
4 (4) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปกครองตลอดการจัดการเรียนการสอนใน สถานศึกษาแบบ on site

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ก่อนเปิดสถานศึกษา (1) โรงเรียนดำเนินการประเมินความพร้อมผ่าน Thai Stop Covid Plus (TSC+) (2) คณะกรรมการการจัดการศึกษาของเทศบาล ดำเนินการประเมินการเตรียมความพร้อม (3) ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย
  (4) จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
(5) ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาอบรมให้แก่ตัวแทนครู และผู้ที่เกี่ยวข้องถึงวิธีการใช้ชุด
  ตรวจ Antigen Test Kit (ATK)
(6) จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน (7) ครูนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปสอนแก่ผู้ปกครองและนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ทำการตรวจ ATK
  ได้เองก่อนการเปิดเรียนแบบ On Site
(8) จัดสรรชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้แก่สถานศึกษาในสังกัด เพื่อดำเนินการคัดกรองและ
  ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เบื้องต้นทั้งก่อนเปิดเรียน และระหว่างการเรียนแบบ On Site
  ดังนี้ 1. โรงเรียนเทศบาล 1 (ถนนนครนอก) จำนวน 1,100 ชุด 2. โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) จำนวน 1,000 ชุด 3. โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) จำนวน 1,000 ชุด 4. โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านแหลมทราย) จำนวน 2,000 ชุด 5. โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) จำนวน 4,500 ชุด ระหว่างเปิดสถานศึกษา (9) นักเรียน ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสังกัดเทศบาลนครสงขลาทุกคน ดำเนินการตรวจคัดกรองด้วย   ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในวันแรกของการเปิดเรียน
- ถ้าผลเป็นลบ ให้นักเรียนขึ้นห้องเรียน เพื่อดำเนินจัดการเรียนการสอนได้ - ถ้าผลเป็นบวก จะดำเนินการแยกไปยังสถานที่กักตัวในโรงเรียน (School Isolation) และประสาน   สาธารณสุขที่รับผิดชอบในพื้นที่ เพื่อดำเนินการรับตัวไปรักษาและสอบสวนโรคต่อไป (10) มีการสุ่มตรวจ Antigen Test Kit (ATK) กับนักเรียน ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นระยะๆ (ร้อยละ
    10 - 15) ตามความเหมาะสมของพื้นที่ของแต่ละจังหวัด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) ครูทุกคนมีความรู้ในการใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด (2) นักเรียน ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับการดูแล ป้องกัน และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ   ไวรัสโคโรนา 2019
(3) สถานศึกษามีอุปกรณ์ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เพียงพอในการคัดกรองและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส   โคโรนา 2019
(4) นักเรียนและผู้ปกครองเกิดความเชื่อมั่นในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาแบบ on site

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2565 12:37 น.