กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)โรงเรียนวัดผักกูด
รหัสโครงการ 65-L223 ป.5-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดผักกูด
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2565 - 30 เมษายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2565
งบประมาณ 11,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิตสรา เสนพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.82358,100.30865place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 15) ออกไปถึง 31 มกราคม 2565 โดยได้มีการเผยแพรประกาศลงในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ยังได้เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่รับาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 23/2564 เรื่องพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดกเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการ ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแนวทางจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ โดยกำหนดพื้นที่ควบคุม จำนวน 39 จังหวัดและจังหวัดสงขลาถูกกำหนดให้เป็นจังหวัดพื้นที่ควบคุม ทั้งนี้ จากข้อมูลกลุ่มภารกิจสื่อสารความเสี่ยง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2565 รายงานว่าจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยยืนยันสะสม (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2564) จำนวน 67,060 ราย จำนวนผู้เสียชีวิตสะสม จำนวน 309 ราย และมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมในอำเภอหาดใหญ่ จำนวน 15,894 ราย
  จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น สำหรับโรงเรียนและสถานศึกษาปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนตามสถานการณ์และมาตรการที่จังหวัดกำหนด โดยมีการเรียนการสอนแบบ On Line หรือ On Hand หรือ On Demand โดยเลี่ยงจัดการเรียนการสอนแบบ On Site ตามมาตรการของภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ที่ ศบค.ได้ผ่อนคลายมาตรการและปรับลดพื้นที่สถานการณ์ของจังหวัดสงขลา จากเดิมพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเป็นพื้นที่ควบคุม อาศัยคำสั้ง๕ณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ที่ 170/2564 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2564 เรื่อง มาตรการควบคุมพื้นที่ที่จำเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(Covid-19) จังหวัดสงขลาโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท สามารถใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือทำกิจกรรมใดได้ตามความเหมาะสม โดยรูปแบบของการดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการจัดระเบียบและระบบต่างๆ คำแนะนำของทางรายการ และมาตรการป้องกันโรคที่ราชการกำหนด ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและสวัตกรรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด "มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร" เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินงานของสถานที่ กิจกรรมในพื้นที่ เพื่อการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย
  ในการนี้โรงเรียนกำหนดเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป้นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free setting มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วน มีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียน on-site ด้วยชุดตรวจ ATK เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การเปิดเรียนของ โรงเรียนวัดผักกูด จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) โรงเรียนวัดผักกูด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครู บุคลากรและนักเรียน ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ได้ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 46 11,200.00 0 0.00
10 ม.ค. 65 - 30 เม.ย. 65 ค่าชุดตรวจ โควิด 19 จำนวน 140 ชุดๆ ละ 80 บาท 46 11,200.00 -

1.คัดกรอง ATK ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนวัดผักกูดประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 (โดยสุ่มตรวจรายสัปดาห์ๆ ละ 10 คน ตลอดภาคเรียนที่ 2/2564 ทั้งหมด 14 สัปดาห์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2565 12:42 น.