กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลเพื่อควบคุมโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำแบบบูรณาการ
รหัสโครงการ 2565-L3351-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 29 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2565
งบประมาณ 14,590.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอนก กลิ่นรส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2629 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราความชุกด้วยโรควัณโรค (ต่อพัน)
1.14
2 อัตราป่วยด้วยโรค โควิด 19 (ต่อพัน)
5.71

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค มีความสำคัญต่อระบบการป้องกันควบคุมโรคของประเทศ เขตจังหวัดและตำบล โดยทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เป็นทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วประจำหน่วยงานสาธารณสุขที่มีพื้นที่รับผิดชอบในด้านการป้องกัน ควบคุมโรคซึ่่งในด้านสมรรถนะบุคลากรเคยมีคำกล่าวว่า “เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนต้องใช้ระบาดวิทยาในการปฏิบัติงาน” แต่ในด้านสมรรถนะขององค์กร อาจกล่าวได้ว่า “หน่วยงานที่มีหน้าที่ป้องกันควบคุมโรคและภัยทุกหน่วยงาน ต้องมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team หรือSRRT)” เนื่องจาก ปัญหาภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health emergency) ที่มากขึ้นทั้งในด้านความถี่ ขนาด และความรุนแรง รวมถึงขีดความสามารถในการแพร่กระจายปัญหาไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทุกพื้นที่จึงจำเป็นต้องมีทีมงานรับผิดชอบในการเฝ้าระวังปัญหา และสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ได้แก่ หน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยหากพื้นที่ใดที่มีทีม SRRT ไม่เข้มแข็งจะเป็นจุดอ่อนของการป้องกันควบคุมโรคและอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้โรคทวีความรุนแรงขึ้นได้ ในปี 2564 ศูนย์ระบาดวิทยาได้ให้ความสำคัญในการทำงานด้านระบาดวิทยาและ SRRT มีการสนับสนุนและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการประเมินผลการทำงานใน ปีงบประมาณ 2565 พบว่ามีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานภาพรวมของอำเภอหลายที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน SRRTอีกทั้ง จากข้อมูลโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาทั้งระดับประเทศเขต จังหวัด อำเภอตำบล พบว่าในปี 2563 มีโรคที่ก่อให้เกิดความรุนแรงหลายโรค อาจส่งผลไปถึงปี 2565 เพราะเชื้อโรคมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะกลุ่ม โรคอุบัติใหม่/ซ้ำ อีกทั้ง ยังมีโรคประจำถิ่น เช่น ไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งสภาพปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบทำให้เกิดภัยคุกคามสุขภาพประชาชน สังคม เศรษฐกิจโดยรวม และอาจจะทวีความรุนแรงขึ้นจากปัญหาการพบโรคที่รุนแรงและซับซ้อน ตลอดจนมีแนวโน้มที่บางปัญหาจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่นปัญหาโรคไข้เลือดออกโควิด - 19 ไข้สมองอักเสบ ชิกุนกุนยา ซิก้า อหิวาตกโรค และโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ จึงมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมทุกด้าน ทั้งระบบเฝ้าระวัง การซักซ้อมแผน พัฒนาศักยภาพของบุคลากรผู้รับผิดชอบ เพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการเฝ้าระวัง ระบบข่าวกรอง การสอบสวนโรค ให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐานและมีคุณภาพ รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยเพื่อหาองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อลดอัตราป่วย อัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อต่าง ๆ มีทีมงานการเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในลักษณะภาคีที่ชัดเจนมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวได้ให้ความสำคัญใน การพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพของทีม SRRT ที่จะทำให้ทีมมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดให้มีการอบรมในครั้งนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วมีความรู้และปฏิบัติงานได้อย่างประสิทธิภาพทุกคน

ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วได้รับการพัฒนาให้มีความรู้และปฏิบัติงานได้อย่างประสิทธิภาพทุกคน

32.00 60.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลโคกชะงาย และควบคุมโรคตามหลักการและขั้นตอน ถูกต้อง เหมาะสม (ต่อพัน)

อัตราการป่วยด้วยโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำในพื้นที่ตำบลโคกชะงายลดลง  และควบคุมโรคตามหลักการและขั้นตอน ถูกต้อง เหมาะสม

5.71 2.11
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 75 ต่อแสนประชากร

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 75 ต่อแสนประชากรและอัตราป่วยด้วยโรคโควิด 19 ไม่เกิน 2.11

0.00 0.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยใหม่ด้วยโรคโควิด 19 ไม่เกิน ร้อยละ 2.11

อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคโควิด 19 ไม่เกิน ร้อยละ 2.11

5.71 2.11
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,590.00 5 14,590.00
9 - 25 มี.ค. 65 วัสดุอุปกรณ์ตอบโต้เหตุฉุกเฉินทางสาธารณสุข 0 4,990.00 14,590.00
25 มี.ค. 65 - 29 ก.ค. 65 พ่นหมอกควันทำลายยุงลายตัวเต็มวัย (กรณีเกิดโรคไข้เลือดออก) 0 0.00 0.00
22 เม.ย. 65 อบรมพัฒนาทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (การตรวจ ATK) 0 9,600.00 0.00
4 พ.ค. 65 - 29 ก.ค. 65 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 0 0.00 0.00
11 พ.ค. 65 คัดกรองวัณโรค 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว มีความรู้ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ไม่มีอัตราการป่วยด้วยโรคอุบัติใหม่
  • เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่
  • ทุกครัวเรือนมีการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
  • ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ็HI = 0 CI =0
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2565 00:00 น.