กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในโรงเรียนโดยชุดตรวจ ATK โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)
รหัสโครงการ 2565-L6896-05-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 118,316.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภิรักษ์ นาคฤทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังคงมีการกระจายอยู่ทั่วไป และห้วงเวลาที่ผ่านมาจังหวัดตรังได้เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่กลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษาเพื่อให้สามารถกลับมาสู่สภาพการเรียนการสอนตามปกติได้อย่างปลอดภัย โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ที่จังหวัดตรังกำหนดและตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.3/ว2574 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เรื่อง แนวทางการเปิดสถานศึกษา(โรงเรียน/วิทยาลัย)ของสถานการณ์ศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (เพิ่มเติม) โดยกำหนดให้สถานศึกษาปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถานบันการศึกษา ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พรก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 34) ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2564 นั้น ปฏิบัติตามมาตรการ Sandbox: safety zone in school ดังนี้ 1. เข้ม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) 2. แนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศึกษาแบบไป-กลับ 3. มีการตรวจคัดกรองหาเชื้อ โดยการสุ่มตรวจเป็นระยะๆ 3. ครูและบุคลากรในสถานศึกษาได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 แล้ว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และมีการประเมินความเสี่ยง (TST) 2 วันต่อสัปดาห์       ดังนั้นโรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง) จึงต้องปรับกระบวนการโดยจัดให้มีกิจกรรมคัดกรองนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเข้าสู่ระบบการคัดกรองตรวจหาเชื้อโควิด – 19 และเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลและครอบครัว รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนและครูบุคลากรทางการศึกษาและครอบครัวได้ปฏิบัติตนตามแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่กรมควบคุมโรคกำหนด เพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนการสอนแบบปกติ (On site) ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษารวมถึงผู้ขายอาหาร ได้รับการเฝ้าระวังติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชนได้

นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้ขายอาหาร ได้รับความรู้และเฝ้าระวังดูแลการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้ขายอาหาร ได้รับคัดกรองด้วยชุดตรวจโควิดAntigen Test Kit และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทัศนคติให้สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19 อาจจะเกิดขึ้นได้ในชุมชน

นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้ขายอาหาร ได้รับการตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจโควิดAntigen Test Kit

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 776 118,316.00 2 118,316.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับผู้ปกครอง – นักเรียนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 0 9,800.00 9,800.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมตรวจคัดกรองหาเชื้อ 776 108,516.00 108,516.00
  1. ประชุมทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคลากร ผู้นำนักเรียน ผู้แทนผู้ปกครอง เพื่อแสดงความเห็นความต้องการในการกำหนดมาตรการคัดกรองเชิงรุกด้วยชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit
  2. จัดทำแผนวิธีการดำเนินงานโครงการและเขียนโครงการ เสนอโครงการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  3. คัดกรองผู้มีความเสี่ยงในโรงเรียนก่อนการเปิดเทอมโดยชุดตรวจ ATK ในโรงเรียน
  4. จัดทำทะเบียนการตรวจ โดยระบุชื่อ สกุล เลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และมีการติดตามหรือให้กลุ่มที่ได้รับการตรวจ ATK สังเกตอาการตนเองหลังการตรวจอีก 3-5 วัน หากมีอาการไข้ ไอ ความผิดปกติทางสุขภาพให้รีบแจ้งผู้ประสานงานที่โรงเรียน อสม. ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อประเมินอาการ โดยอาจมีการตรวจด้วย ATK ซ้ำ
  5. เมื่อมีผลตรวจจากการคัดกรองด้วยชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit แล้วให้แจ้งผลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 6.จัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด ประเภทการ์ตูนแอนิเมชั่น ป้ายไวนิล 7.เชิญวิทยากร เจ้าหน้าที่ให้ความรู้กับผู้ปกครองและนักเรียนในการสร้างเกราะคุมกันป้องกันโควิด 8.สรุปผลดำเนินงานโครงการนำส่งคณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้ขายอาหาร ได้รับคัดกรองโรคด้วยชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit และเฝ้าระวังติดตามรายงานผลอย่างต่อเนื่อง
  2. สามารถควบคลุมป้องกันโรคระบาดโควิด -19 ในโรงเรียนได้
  3. สามารถสร้างความพร้อมในการเรียนการสอนแบบปกติ (On site)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2565 15:38 น.