กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในโรงเรียนโดยชุดตรวจ ATK โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ)
รหัสโครงการ 2565-L6896-05-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ)
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 66,722.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโชติวรรธน์ มุสิกะชะนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 235 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยในปัจจุบัน สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังคงมีการกระจายอยู่ทั่วไป ทั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และอีกหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย เป็นเหตุให้รัฐบาลไทย ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ไปเป็นคราวที่ 14 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564
และห้วงเวลาที่ผ่านมาจังหวัดตรัง ได้เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่กลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา เพื่อให้สามารถกลับมาสู่สภาพ การเรียนการสอนตามปกติได้อย่างปลอดภัย ซึ่งตามคำสั่งจังหวัดตรังที่ 4326/2564 เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดตรัง ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564      ข้อ 8.1.3 “หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดตรัง คลี่คลายให้โรงเรียน สถานศึกษา และสถาบันการศึกษาทุกประเภท เตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนการสอนตามปกติ (on site)” โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ที่จังหวัดตรังกำหนด และตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.3/ว2574 ลงวันที่  2 พฤศจิกายน 2564 เรื่อง แนวทางการเปิดสถานศึกษา(โรงเรียน/วิทยาลัย) ของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (เพิ่มเติม) โดยกำหนดให้สถานศึกษาปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ    เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถานบันการศึกษา ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พรก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 34) ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2564 นั้น โดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว กำหนดให้จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด (ตรัง จัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามคำสั่ง ศบค.ที่ 15/2564 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2564) ปฏิบัติตามมาตรการ Sandbox: safety zone in school ดังนี้ 1. เข้ม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) 2. แนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศึกษาแบบไป-กลับ 3. มีการตรวจคัดกรองหาเชื้อ โดยการสุ่มตรวจเป็นระยะๆ 4. ครูและบุคลากรในสถานศึกษาได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 แล้ว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และมีการประเมินความเสี่ยง (TST) 2 วันต่อสัปดาห์           ในการนี้โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมัชฌิมภูมิ) จึงต้องปรับกระบวนการโดยจัดให้มีกิจกรรมคัดกรองนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเข้าสู่ระบบการคัดกรองตรวจหาเชื้อโควิด – 19 สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล และครอบครัว รวมถึงการส่งเสริม และสนับสนุนให้นักเรียน ครูบุคลากรทางการศึกษา และครอบครัวได้ปฏิบัติตนตามแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่กรมควบคุมโรคกำหนด เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนการสอนแบบปกติ (On site) ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการเฝ้าระวังติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อ โควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชนได้

นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา ได้รับความรู้และเฝ้าระวังดูแลการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับคัดกรองด้วยชุดตรวจโควิดAntigen Test Kit และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทัศนคติให้สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19 อาจจะเกิดขึ้นได้ในชุมชน

นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา  ได้รับการตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 66,722.00 1 0.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมตรวจคัดกรองหาเชื้อ 0 66,722.00 0.00
  1. ประชุมทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อแสดงความเห็นความต้องการในการกำหนดมาตรการคัดกรองเชิงรุกด้วยชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit
  2. จัดทำแผนวิธีการดำเนินงานโครงการ และเขียนโครงการ เสนอโครงการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  3. คัดกรองผู้มีความเสี่ยงในโรงเรียนก่อนการเปิดเทอมโดยชุดตรวจ ATK ในโรงเรียน
  4. จัดทำทะเบียนการตรวจ โดยระบุชื่อ สกุล เลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และมีการติดตามหรือให้กลุ่มที่ได้รับการตรวจ ATK สังเกตอาการตนเองหลังการตรวจอีก 3-5 วัน หากมีอาการไข้ ไอ
    ความผิดปกติทางสุขภาพ ให้รีบแจ้งผู้ประสานงานที่โรงเรียน อสม. ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบ
    เพื่อประเมินอาการ โดยอาจมีการตรวจด้วย ATK ซ้ำ
  5. เมื่อมีผลตรวจจากการคัดกรองด้วยชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit แล้วให้แจ้งผลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคในส่วนที่เกี่ยวข้อต่อไป 6.สรุปผลดำเนินงานโครงการ นำส่งคณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับคัดกรองโรค ด้วยชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit และเฝ้าระวัง ติดตามรายงานผลอย่างต่อเนื่อง
  2. สามารถควบคุมป้องกันโรคระบาดโควิด -19 ในโรงเรียน และชุมชนได้
  3. สามารถสร้างความพร้อมในการเรียนการสอนแบบปกติ (On site)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2565 16:08 น.