กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม. เฝ้าระวังภาวะสุขภาพในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนบางรัก
รหัสโครงการ 2565-L6896-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนบางรัก
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 20,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยุพดี ทิมทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนบางรักมี 1,192 ครัวเรือน ประชากร 2,688 คน ผู้สูงอายุ 552 คน ผู้พิการ 85 คน ผู้ป่วยเรื้อรัง 225 คน จำแนกได้ด้งนี้ โรคเบาหวาน 93 คน โรคความดันโลหิตสูง 112 คน โรคหัวใจ 9 คน โรคมะเร็ง 1 คน โรคปอกอุกกั้นเรื้อรัง 1 คน โรคหลอดเลือดสมอง 9 คน ซี่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นในชุมชน  อสม. เป็นกลุ่ม/องค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และเป็นผู้ที่รู้ปัญหาความต้องการของประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดี มีบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ พร้อมทั้งกระจายข่าวสารด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่ตัวเองรับผิดชอบได้รับทราบ เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพได้มากขึ้นอย่างเป็นธรรม โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง  และการจัดการกับปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ยั่งยืนและมีผลการดำเนินงานที่ดีที่สุด เป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ให้บริการแก่ประชาชนขั้นพื้นฐานได้ทันท่วงทีเนื่องจากอาศัยอยู่ในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ทั่วถึง และทันเวลา สำหรับกิจกรรมที่ อสม.ดำเนินการในพื้นที่ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กิจกรรมชั่งน้ำหนักเด็ก วัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจน้ำตาลในเลือด(DTX) การคัดกรองภาวะสุขภาพ การนัดให้ไปรับบริการต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งในแต่ละกิจกรรมก็ต้องมีอุปกรณ์ ในการให้บริการ เช่นเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัดรอบเอว หรืออื่น ๆ ที่สนับสนุนการให้บริการ ในขณะเดียวกัน ความพร้อมของอุปกรณ์ดังกล่าว ยังมีไม่เพียงพอ ในการให้บริการประชาชน     ปัจจุบัน อสม.ชุมชนบางรัก มีทั้งหมด 12 คน ซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอกับจำนวนประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งมีอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งานดังนี้ เครื่องวัความดันโลหิต 7 เครื่อง เครื่องชั่งน้ำหนักเด็ก 2 เครื่อง เครื่องชั่งน้ำหนักผู้ใหญ่ 1 เครื่อง ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวมีไม่เพียงพอกับจำนวน อสม. ที่ปฏิบัติงาน จึงได้จัดทำโครงการอสม. เฝ้าระวังภาวะสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความสะดวกในการรับบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นในพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการที่จะเข้าถึงบริการในกรณีที่จำเป็น เป็นการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้กับผู้รับบริการได้อีกด้วย เช่นการวัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจหาน้ำตาลในเลือด และชั่งน้ำหนักรวมถึงการให้บริการ ช่วงเวลาที่มีการรณรงค์ตรวจสุขภาพในพื้นที่ด้วย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่สามารถดำเนินการในชุมชนได้โดย อสม.

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพเบื้องต้น

ร้อยละ 90 ของประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้รับ การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นที่บ้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,980.00 2 20,980.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมการให้ความรู้การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นในกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 0.00
1 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 สนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นในชุมชน 0 20,980.00 20,980.00

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ทราบวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานตามโครงการฯ 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 3. ประชุมชี้แจงโครงการและกิจกรรมผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. ติดต่อร้านเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ ขั้นดำเนินงาน 1.ประชุมแนวทางการดำเนินงาน 2. ประสานหน่วยงานเพื่อกำหนดเป้าหมาย และกิจกรรมตามโครงการ 3. จัดกิจกรรมให้ความรู้การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นในกลุ่มเป้าหมาย 3. จัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมตามโครงการ 4. ประเมินติดตามผลการดำเนินงาน 5. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่บ้าน ได้ทันเวลา สะดวกและ รวดเร็ว
  2. ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการคัดรองสุขภาพเบื้องต้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2565 08:50 น.