กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดย Antigen (Rapid Test) กลุ่มนักเรียน ครูและบุคคลากรในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครยะลา ปีงบประมาณ 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดย Antigen (Rapid Test) กลุ่มนักเรียน ครูและบุคคลากรในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครยะลา ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 64 – L7452 – 5 – 2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 1,300,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาภรณ์ บุญพงษ์มณี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 3500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25 ) ประกาศลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564 มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด - 19) ที่ 6/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งจังหวัดยะลากำหนดระดับของพื้นที่เป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด นั้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดกลายพันธุ์ โอไมครอน จากการรายงานกรมวิทยศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2564 ถึง 10มกราคม 2565 ยอดผู้ป่วย จำนวน 5,397 ราย ซึ่งแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว พบผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ. ศ. 2548 ( ฉบับที่25 ) จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดมาตรการที่เข้มงวดและเร่งด่วน เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ และเป็นการป้องกันและยับยั้งการระบาดของโรค มิให้มีการแพร่ระบาดออกไปในวงกว้างและกระทบความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548ประกอบกับผู้บริหารเทศบาลนครยะลามีนโยบายให้เปิดสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครยะลา เนื่องจากเด็กในสังกัดเทศบาลนครยะลามีฐานะยากจน และสุขภาวะไม่ดี และมาจากพื้นที่เสี่ยงในการระบาดของโรค จึงกำหนดให้มีการเปิดเรียนนำร่อง ON- site โดยกำหนดเปิดเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา และประถมศึกษาปีที่ 6ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2565 เป็นต้นไป และกำหนดให้โรงเรียนดำเนินตามมาตรการด้านสาธารณสุขตามหลัก New NormalDMHTT อย่างเข้มงวด ต้องทำเป็นพื้นที่ปลอด COVID-19 หรือ Covid free Setting มีกิจกรรมให้ครูและบุคคลาทางการศึกษา และนักเรียน ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID -19 ครบถ้วน มีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียน On-site ด้วยชุดตรวจ ATK เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา COVID-19 ให้ทันต่อสถานการณ์ ดังนั้น กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จึงได้จัดทำ โครงการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดย Antigen (Rapid Test) กลุ่มนักเรียน ครูและบุคคลากรในสังกัดโรงเรียนเทศบาลนครยะลา ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และมีทักษะการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ครูอนามัยโรงเรียนเทศบาล 1 – 6

ร้อยละ 80 ของครูอนามัยโรงเรียนเทศบาล 1 – 6 มีความรู้และมีทักษะการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID-19) ที่ถูกต้อง

40.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดย Antigen (Rapid Test)

ร้อยละ 80 ของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดย Antigen (Rapid Test)

0.00 80.00
3 เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีผลบวกได้รับการส่งต่อ ติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน ร้อยละ 100

0.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 1,300,000.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้และทักษะการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ครูอนามัยโรงเรียนเทศบาล 1 – 6 0 0.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 การคัดกรองตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดย Antigen (Rapid Test)ในกลุ่มนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 0 1,300,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน นักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วยชุดตรวจ Antigen (Rapid Test)
  2. สามารถลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในสถานศึกษา
  3. สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในสถานศึกษา
  4. ครูอนามัยโรงเรียนเทศบาล 1 – 6 มีความรู้และมีทักษะการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2565 13:36 น.