กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลห้วยยอด โดยใช้นมอัดเม็ดผสม
รหัสโครงการ 2565L801701
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลห้วยยอด
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2565
งบประมาณ 24,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนันทรัตน์ คงประสม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุภารัตน์ ภักดี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.776,99.632place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 83 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุเป็นโรคของเนื้อเยื่อฟัน (ผิวเคลือบฟัน เนื้อฟันผิวรากฟัน) ซึ่งเกิดจากมีการทำลายแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อเหล่านี้จนทำให้เกิดเป็นโพรงและสามารถลุกลามจนเกิดการสูญเสียฟันทั้งซี่วิทยาการในปัจจุบันทำให้ความเข้าใจในกระบวนการเกิดโรคฟันผุมากขึ้นซึ่งไม่ได้เป็นเพียงความสัมพันธ์ของปัจจัยหลัก 3ประการ ได้แก่ ตัวฟันเชื้อแบคทีเรียและน้ำตาลแต่ยังมีปัจจัยด้านความรู้ ทัศนคติพฤติกรรม ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยในสิ่งแวดล้อมอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 3 ปี ร้อยละ 52.9 และจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในเขตอำเภอห้วยยอด เด็กช่วงอายุ 3 ปีถึง 3 ปี 11 เดือน ข้อมูลเปรียบเทียบร้อยละของเด็ก 3 ปีฟันน้ำนมผุ ในภาพรวมของจังหวัดตรังกับอำเภอห้วยยอด ข้อมูลเด็ก 3 ปีฟันผุของจังหวัดตรัง ในปี 2560 - 2562 มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 44.4 , 46.9 และ 46.9 ตามลำดับ ส่วนของอำเภอห้วยยอด ในปี 2560 - 2562 มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 45.8 , 45.6 และ 42.26 ตามลำดับ ในส่วนของเทศบาลตำบลห้วยยอดพบว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุเด็กช่วงอายุ 3 ปีถึง 3 ปี 11 เดือนในปี 2561 - 2563 มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 46.15 , 38.09 และ 30.0 ตามลำดับ ดังนั้นมาตรการในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุจึงควรครอบคลุมถึงการให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารให้ถูกต้องการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี การใช้สารประกอบฟลูออไรด์รูปแบบต่างๆในการป้องกันฟันผุฟลูออไรด์ ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดการลุกลามของโรคฟันผุในเด็กเล็ก ด้วยกลุ่มงานทันตกรรม รพ.ห้วยยอด จึงได้ตระหนักว่าปัญหาฟันผุในเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและวัยอนุบาลเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการป้องกันและแก้ไขก่อน โดยการใช้สารเคลือบฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงชนิดทาเพื่อเสริมความแข็งแรงของเคลือบฟัน ร่วมกับการใช้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกเพื่อทำลายเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ นมอัดเม็ดโพรไบโอติก เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้ในการป้องกันโรคฟันผุซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ ศ.ดร. รวี เถียรไพศาล และ ผศ.ดร.ทพญ. สุพัชรินทร์ พิวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่รองรับได้ถึงผลในการป้องกันโรคฟันผุ เช่น     1. วารสาร Clin Oral Invest (๒๐๑๔) ๑๘:๘๕๗-๘๖๒ ซึ่งเชื้อโพรไบโอติกชนิด Lactobacillius paracasei SD1 สามารถลดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ (mutans streptococci) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยด้วยกลวิธีนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสมต่อวัน เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุใหม่ หลังได้รับนมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก

ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลห้วยยอด ได้รับนมอัดเม็ดโพรไบโอติกตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสมต่อวันเป็นเวลา  3 เดือน ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลห้วยยอด ได้รับนมอัดเม็ดโพรไบโอติกไม่เกิดรอยโรคฟันผุใหม่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 24,000.00
1 พ.ย. 64 - 31 ส.ค. 65 โครงการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลห้วยยอด โดยใช้นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติก ในเขตเทศบาลตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปี 2565 0 0.00 24,000.00
  1. จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก
  3. จัดซื้อผลิตภัณฑ์นมอัดเม็ดโพรไบโอติก
  4. ให้ความรู้ด้านโพรไบโอติกและทันตสุขภาพแก่ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ
  5. ลงพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรม
    5.1 ตรวจสุขภาพช่องปาก แบ่งได้ดังต่อไปนี้
    • กลุ่มเด็กปฐมวัยจะมีการตรวจ 3 ครั้ง คือ ก่อน / ระหว่าง / หลังการให้เม็ดนมโพรไบโอติก 5.2 ส่งมอบนมอัดเม็ดแก่เด็กปฐมวัย ให้แก่ครูผู้ดูแลเด็ก
    • ให้ ๖ เม็ดต่อวัน ๓๐ เม็ด/สัปดาห์ ไม่รวมเสาร์และอาทิตย์ เป็นเวลา 3 เดือน
  6. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ
  7. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราการปราศจากฟันผุของเด็กปฐมวัยในเขตเทศบาลตำบลห้วยยอดเพิ่มสูงขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2565 14:53 น.