กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ สะอาด ปลอดภัย ห่างไกลโรค
รหัสโครงการ 65-L7257-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,912.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลลิตา บุหลาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 ก.พ. 2565 30 ก.ย. 2565 50,912.00
รวมงบประมาณ 50,912.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและผู้บริโภคมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ
30.00
2 ร้อยละของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
16.66
3 ร้อยละของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ได้มาตรฐานและได้รับการดูแลให้ถูกสุขลักษณะ
25.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ) เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อีกทั้งในการประชุมคณะกรรมการสาธารณสุข ครั้งที่ 64-2/2552 มีมติให้การประกอบกิจการตู้น้ำหยอดเหรียญเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศฯ ดังกล่าว ซึ่งต้องควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคที่กำหนด และนอกจากนี้น้ำยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องใช้น้ำในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะน้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาดมีคุณภาพ มิฉะนั้น จะก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย นอกจากนี้น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร ท่อปัสสาวะอักเสบ อาหารเป็นพิษ นิ่วในไต มะเร็ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ มีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตั้งอยู่ในบริเวณแหล่งชุมชน หอพัก อพาร์ทเม้นท์ และภายในบริเวณสถานศึกษา เป็นจำนวนมาก และจากการดำเนินโครงการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ สะอาด ปลอดภัย ห่างไกลโรค ตั้งแต่ปี 2560 ถึงปี 2564 ทำให้ทราบว่าตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ เพิ่มขึ้นในทุกปี อีกทั้งการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา พบว่า ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่มีคุณภาพน้ำผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มมีเพียงร้อยละ 16.66 ดังนั้น จากข้อมูลดังกล่าว งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการตู้น้ำหยอดเหรียญ สะอาด บริโภคปลอดภัยขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและลดปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อและเพื่อให้ประชาชนดื่มน้ำที่สะอาด ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและผู้บริโภคมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ

ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะเพิ่มขึ้น

30.00 80.00
2 เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย

ร้อยละของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญได้รับการตรวจเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น

16.66 100.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญนำความรู้ที่ได้ไป ดูแลตู้น้ำดื่มให้ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ

ร้อยละของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ได้มาตรฐานและได้รับการดูแลให้ถูกสุขลักษณะเพิ่มขึ้น

25.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,912.00 0 0.00
??/??/???? ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญหรือตัวแทนและประชาชนในพื้นที่ 0 3,862.00 -
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ 0 47,050.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เกี่ยวข้องมีองค์ความรู้และตระหนักถึงปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
  2. ประชาชนทราบและให้ความสำคัญในการใช้บริการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเพิ่มมากขึ้น
  3. เป็นแนวทางในการควบคุม ดูแลกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตามมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2565 21:18 น.