กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโยคะยืดเหยียด ลดภาวะออฟฟิศซินโดรม
รหัสโครงการ 65-L7257-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรวรรณ วัฒนกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 ก.พ. 2565 30 ก.ย. 2565 28,900.00
รวมงบประมาณ 28,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสมาชิกที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม
50.00
2 ร้อยละของสมาชิกในโครงการมีความรู้ในเรื่องการดูแลตัวองเรื่องการรับประทานอาหารแบบ IF /Keto
40.00
3 ร้อยละของสมาชิกในโครงการมีความเสี่ยงในโรคเรื้อรัง
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การทำงานที่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงการนั่งทำงานในสำนักงาน เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถส่งผลต่อความเจ็บป่วยทางร่างกายโดยไม่รู้ตัว อาทิ ปวดตา ตาแห้ง ปวดหลัง ปวดคอ ปวดแขน ปวดร้าวไปทั้งต้นขา เป็นต้น จนต้องไปพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรักษาและบำบัด ซึ่งนอกจากใช้เวลานานพอควรกว่าร่างกายจะกลับคืนสู่สภาพเดิมแล้วยังทำให้เสียเวลา และเสียเงินทองอีกด้วย


การนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ ส่งผลถึงการเผาผลาญของร่างกายลดลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การรับประทานอาหารที่เร่งรีบ ทำให้ทานอาหารได้ปริมาณมาก ส่งผลต่อน้ำหนักตัว รอบเอว ข้อเข่า อาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆของร่ายกาย

ด้วยเหตุที่โยคะ สามารถเรียนรู้และฝึกฝนด้วยตนเองได้เพราะเป็นศาสตร์ที่เชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจเข้าด้วยกัน จนนำไปสู่สมาธิได้ และเป็นเครื่องมือที่ผู้ที่ฝึกฝนจะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง และนำไปถ่ายทอดสอนผู้อื่นต่อได้ด้วย


โยคะ (Yoga) ภาษาสันสกฤตมีหลายความหมายซึ่งเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมความคือ “ความอุตสาหะ ความบากบั่นการเชื่อมกันความสัมพันธ์สมาธิ” โยคะถือกำเนิดในประเทศอินเดียก่อนสมัยพระเวทประมาณ 2000 และ1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ปัจจุบัน คือส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน)โยคะได้พัฒนาอย่างเป็นระบบมีหลายสำนัก การฝึกปฏิบัติ และเป้าหมายที่หลากหลายทั้งในศาสนาฮินดู พุทธ และเชน แต่ลำดับการเขียนเป็นตำราโยคะไม่ชัดเจน จนนักปราชญ์ชาวฮินดูคนหนึ่งชื่อว่า ปตัญชลี เป็นคนแรกที่ปรับปรุงการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน เขาเขียนสูตรของการฝึกโยคะเป็นหัวข้อ 8 หัวข้อสั้นๆ หัวข้อเหล่านี้เชื่อว่าได้ถูกเขียนขึ้นเมื่อ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยผู้ที่ปฏิบัติโยคะที่เป็นผู้ชายเรียกว่า โยคิน หรือ โยคี ส่วนผู้หญิงเรียกว่า โยคินี ส่วนผู้สอนเรียกว่า คุรุ (ครู) การฝึกโยคะจะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังทำให้เลือด และสารอาหารไปเลี้ยงประสาทไขสันหลังเพิ่ม การฝึกโยคะจะทำให้การทำงานของต่อมต่างๆ รวมทั้งต่อมไร้ท่อทำงานดีขึ้น ท่าของการฝึกโยคะเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะ และมีการสอดคล้องกับการหายใจเป็นการรวมกาย และจิตร่วมกัน การฝึกท่าโยคะจะเป็นการฝึกประสาท ความยืดหยุ่น ความแข็งแรง การทรงตัว ลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ คลายความเครียด ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพจิต และสุขภาพกายดีขึ้น


ในปัจจุบัน ผู้คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น โยคะจึงเป็นศาสตร์องค์รวมสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรเทาความอ่อนล้าและความเจ็บปวดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ ได้ อีกทั้งยังช่วยทำให้ท่านมีพลังในการทำงานมากขึ้นหากได้รับการเรียนรู้อย่างถูกหลักวิชาการและนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอาการออฟฟิคซินโดรมในวัยทำงาน

ร้อยละของสมาชิกที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมลดลง

60.00 30.00
2 เพื่อให้สมาชิกในโครงการมีความรู้ในเรื่องการดูแลตัวองเรื่องการรับประทานอาหารแบบ IF /Keto

ร้อยละของสมาชิกในโครงการมีความรู้ในเรื่องการดูแลตัวองเรื่องการรับประทานอาหารแบบ IF /Ketoและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้เพิ่มขึ้น

40.00 80.00
3 เพื่อลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังในวัยทำงาน

ร้อยละของสมาชิกในโครงการมีความเสี่ยงในโรคเรื้อรังลดลง (จากค่า มวลกระดูก BMI การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์)

70.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,900.00 0 0.00
1 - 11 เม.ย. 65 ให้ความรู้เรื่องศาสตร์โยคะเพื่อบำบัดออฟฟิคซินโดรม การรับประทานอาหารแบบ IF/Keto 0 4,550.00 -
1 เม.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 โยคะยืดเหยียดลดออฟฟิคซินโดรม 0 24,350.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สมาชิกในโครงการมีภาวะออฟฟิคซินโดรม ลดลง
  2. สมาชิกในโครงการมีมวลกระดูกที่เพิ่มขึ้น
  3. สมาชิกในโครงการมีค่า BMI ลดลง
  4. สมาชิกในโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปฏิบัติดูแลตัวเองที่สำนักงาน ที่บ้านได้ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2565 10:01 น.