กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L2537-03-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนูรุลยาบาล
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 17,123.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนอรอไอนิง สะแลแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 17,123.00
รวมงบประมาณ 17,123.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนูรุลยาบาล มีความประสงค์จะจัดทำ โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำปี 2565 ซึ่งเด็กในวัยนี้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สําคัญต่อการพัฒนาประเทศหากเด็กได้รับความรัก ความอบอุ่น การอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสม ส่งเสริมพัฒนาการและประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัยของเด็ก ได้รับอาหารถูกหลักโภชนาการซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดีและนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไปก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุขอาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯโดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิตเป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมเด็กวัยนี้จะมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงพร้อมที่จะเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนูรุลยาบาล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงจัดโครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการดูแลภาวะโภชนาการตามเกณฑ์

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีน้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทุกคนได้รับการแก้ไขให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

 

0.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้กับเด็กได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,123.00 1 17,123.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 โภชนาการในเด็กปฐมวัย 0 17,123.00 17,123.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการดูแลภาวะโภชนาการตามเกณฑ์
  2. เด็กนักเรียนที่มีน้ำหนักและส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทุกคนได้รับการแก้ให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
  4. ผู้ปกครองสามารถประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้กับเด็กได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2565 00:00 น.