กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านส่งเสริมสุขภาพ หมู่ที่ 11 ตำบลสร้างถ่อในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
รหัสโครงการ L660425652012
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระดับหมู่บ้านศรีบัว หมู่ที่11 ตำบลสร้างถ่อ
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพยุง ส่งสุข ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านศรีบัว ม.11 ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ละติจูด-ลองจิจูด 15.403086,104.523454place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
38.80

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขาดกิจกรรมทางกายส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต 3.2 ล้านคนต่อปี ของทั้งโลก โดยคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถึงร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 11,129 ราย และก่อภาระค่าใช้จ่าย ทางสุขภาพมีข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย อย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน เด็กและวัยรุ่น (6 - 17 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน แต่สภาพปัจจุบัน เด็กนักเรียนไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเท่าที่ควร ขาดการเอาใจใส่ดูแล ร่างกาย ขาดการมีกิจกรรมทางกาย มีกิจกรรมที่ใช้พลังงานต่ำ ที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behaviour)” เช่น การนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ การนั่งคุยกับเพื่อน การนั่ง หรือนอนดูโทรทัศน์ ที่ไม่รวมการนอนหลับ มีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น โดยควร ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ด้วยการลุกขึ้นเดินไปมาหรือยืดเหยียดร่างกาย ทุก 1 ชั่วโมง และในเด็กปฐมวัย วัยเด็ก และวัยรุ่น ควรจำกัดการใช้คอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ในแต่ละวัน ไม่มีการวิ่งเล่น การละเล่นเหมือนสมัยก่อน ตลอดจนปัญหาเรื่องของปัญหาพฤติกรรมการกิน และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบอันนำมาสู่โรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆจึงทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง และมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ตลอดเวลา มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน ตลอดจนโรคไข้หวัดเรื้อรังซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกาย จึงมีความจำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพของเด็กนักเรียน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การให้ความรู้เกี่ยวกับภาวโภชนาการส่งเสริมให้เห็นความสำคัญการบริโภคผักและผลไม้วันละไม่น้อยกว่า 400 กรัม หรือ 5 ทัพพี การทำสวนจัดเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยให้เราได้เคลื่อนไหวร่างกายพร้อมกับสูดอากาศสดชื่น ผลการวิจัยหนึ่งพบว่าการทำสวนเป็นเวลา 12 สัปดาห์ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลได้ การทำสวนเป็นเหมือนการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise) แบบหนึ่งที่ทำให้ร่างกายหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อเผาผลาญพลังงาน โดยการทำสวนในบ้าน เช่น การตัดเล็มกิ่งไม้ รดน้ำต้นไม้ การตัดหญ้าโดยใช้เครื่องตัดหญ้า และการกวาดใบไม้ จัดเป็นการออกกำลังกายในระดับปานกลาง (Moderate Intensity) ที่ไม่หนักจนเกินไป และเหมาะกับคนทุกช่วงวัย เสริมสร้างความแข็งแรงของหัวใจ การทำสวนเป็นกิจกรรมหนึ่งในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดความดันโลหิต ป้องกันความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด การจัดกิจกรรมการปลูกและดูแลผักจะพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับวัย เพื่อให้นักเรียนมีร่างกายที่แข็งแรงและมีน้ำหนักและส่วนสูงสมวัยตามเกณฑ์อายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

38.80 46.57
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 10,000.00 1 0.00
1 - 31 พ.ค. 65 รณรงค์ตามโครงการ 50 10,000.00 0.00
1 พ.ค. 65 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 10 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการปลูกผัก
2. นักเรียนมีอาหารที่ปลอดภัยสำหรับบริโภคการ 3. สามารถเพิ่มเคลื่อนไหวทางกาย และเพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ให้กับนักเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2565 14:09 น.