กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 ม.2
รหัสโครงการ 65-L-1505-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งค่าย
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 25,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิรชา คีรีรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.462858,99.658055place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-๑๙ มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การ อนามัยโลกได้ประกาศว่าการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าวเป็นภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลก และปัจจุบันเกิดสถานการณ์ การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๔) จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๔ ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีประชาชนติดเชื้อและเริ่มกระจายในวงกว้างมากขึ้น การป้องกันการติดเชื้อสามารถทําได้โดย หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อ COVID-๑๙ การสัมผัสกับผู้ป่วย หรือ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ งดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และควรปฏิบัติตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด รวมถึงมี การบูรณาการทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนยกระดับการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ประชาชนมีความ รอบรู้ในการดูแลตนเอง ครอบครัว สังคม และมีส่วนร่วมในการกําหนดมาตรการต่างๆ ในการรับมือการแพร่ระบาด เชื้อ COVID-๑๙ เพราะการรับรู้และบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสําคัญที่จะทําให้ประเทศไทยผ่าน พ้นวิกฤตครั้งนี้ได้ ดังนั้น การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) จําเป็นต้องมีการ ดําเนินการให้ความรู้ คําแนะนํา การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในชุมชน จึงได้จัดทําโครงการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจน ป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเอง เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ให้กับประชาชน

ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

0.00
2 เพื่อลดการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในชุมชน

ผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,850.00 2 25,850.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชน 0 20,850.00 20,850.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมการแนะนำและสาธิตวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเองกับชุดตรวจ ATK 0 5,000.00 5,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เบื้องต้นได้
  2. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้
  3. ลดการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในชุมชน1
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2565 00:00 น.