ร้านชำคุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจชุมชน
ชื่อโครงการ | ร้านชำคุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจชุมชน |
รหัสโครงการ | 65-L1485-1-14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ |
วันที่อนุมัติ | 27 มกราคม 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 สิงหาคม 2565 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 กันยายน 2565 |
งบประมาณ | 14,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวศศิธร จิตต์จร ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.288,99.862place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 44 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสเตียรอยด์ เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือระดับการรับรู้ ของบุคคล ย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้หรือทักษะในการเลือกซื้อสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยสูง
ตำบลปะเหลียน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนาร้านขายของชำในหมู่บ้าน จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยลดน้อยลงไปได้ จึงได้จัดทำโครงการ “ร้านชำคุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจชุมชน” ขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และมีทักษะในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสำรวจเฝ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เมื่อร้านขายของชำและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้รับความรู้เรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ย่อมส่งผลให้ร้านขายของชำได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง
|
0.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน
|
0.00 | |
3 | เพื่อพัฒนาร้านขายของชำให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. ผู้ประกอบการร้านขายของชำ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง
๒. ผู้ประกอบการร้านขายของชำ มีความรู้และทักษะในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน
๓. ร้านขายของชำพัฒนาผ่านเกณฑ์คุณภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2565 16:53 น.