กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหาและคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ในชุมชน ปี 2565
รหัสโครงการ 2565/L1465/5/12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลโคกยาง
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2565
งบประมาณ 64,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลัดดาวรรณ คงเหล็ก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.509,99.48place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 ก.พ. 2565 30 ก.ย. 2565 64,560.00
รวมงบประมาณ 64,560.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยายประกาศสถานการฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี 2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 11/2564 เรื่องพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ยังทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัจจุบันการระบาดของโรคโควิด - 19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวัล ฉะนั้นการดำเนินการตามมาตรการป้องก้ันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 อย่างเคร่งครัด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
  ในช่วงที่ผ่านมา ชมรม อสม.ตำบลโคกยางร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกยางและองค์การบริหารส่วนตำบลโคกยางได้ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคระบาดโควิด - 19 อย่างต่อเนื่อง ทั้งการจัดอบรมความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 อบรมการทำหน้ากากอนามัย เพื่อสอนประชาชนจัดทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า การสนับสนุนหน้ากากอนามัยแบบผ้าแก่ประชาชนในพื้นที่ การจัดหาเจลล้างมือให้แก่โรงเรียน วัด ร้านค้า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และจุดคัดกรองต่างๆ การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โรคและการป้องกัน ควบคุมโรค การทำความสะอาดโรงเรียน ตลาด วัดและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น แต่ยังมีอีกหลายกิจกรรมที่ต้องดำเนินการแก้ไข ปัญหาโรคระบาด เช่น เรื่องการคัดกรองโรค และการกักตัวของผู้ที่มาจากพื้นที่เลี่ยง การติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้าน การคัดกรองผู้สัมผัสเสี่ยงสูง/เสี่ยงต่ำ   แต่จากสถานการณ์การระบาดที่ยังคงเกิดการระบาดอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ตำบลโคกยาง โดยดูจากจำนวนผู้ป่วยของปี 2565 (1 มกราคม 2565 - 9 กุมภาพันธ์ 2565) พบผู้ติดเชื้อ จำนวน 48 ราย และเริ่มขยายกลุ่มผู้ป่วยเป็นวงกว้างขึ้นเรื่่อยๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด - 19 ในตำบลโคกยาง ชมรม อสม. ตำบลโคกยาง จึงจำเป็นต้องมีการการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงตั้งแต่เริ่มแรกในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกยาง โดยใช้ชุด AIK HOMEUASE เป็นหลัก และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวทางชมรม อสม.ตำบลโคกยาง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาและคัดกรองกลุ่มสัมผัสเสี่ยงและกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง

ร้อยละ 80 กลุ่มสัมผัสเสี่ยงและกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง ได้รับการตรวจคัดกรองในชุมชน0

500.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในชุมชน

ลดอัตราการระบาดเป็นกลุ่มและวงกว้างลง  และผู้ติดเชื้อรายใหม่ ลดลงร้อยละ 80 (เที่ยบจากผู้ป่วยก่อนหน้าดำเนินการ 1 ม.ค.65 - 9 ก.พ. 65

500.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาที่จำเป็นในการดำเนินงาน(12 ก.พ. 2565-30 ก.ย. 2565) 64,560.00                
รวม 64,560.00
1 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาที่จำเป็นในการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 500 64,560.00 0 0.00
12 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 1. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาที่จำเป็นในการดำเนินงาน 0 64,560.00 -
12 ก.พ. 65 - 30 ก.ย. 65 2. จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 500 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงในชุมชนได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุม
  2. สามารถป้องกันการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2565 17:36 น.