กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ
รหัสโครงการ 65-L3321-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 7,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 - 13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 31 ส.ค. 2565 7,220.00
รวมงบประมาณ 7,220.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 39 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จปี 2564
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทย เพื่อสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการฆ่าตัวตาย รวมถึงแนวทางการป้องกัน ภายในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 15 และประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ครั้งที่13 จัดโดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเร็วๆนี้ว่า มีการคาดการณ์จากหลายฝ่ายทั่วโลกว่า ในช่วง 20-30 ปีนี้ โรคมะเร็ง หรือโรคติดต่อร้ายแรงที่เป็นสาเหตุทำให้มีการเสียชีวิตสูงจะลดความรุนแรงลง เนื่องจากความรู้ทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า แต่ปัญหาสุขภาพจิตและการทำร้ายตัวเองจะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามปัญหาสังคมที่มีความซับซ้อน สำหรับประเทศไทย การคาดการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะผู้คนในสังคมไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการรักษาสุขภาพจิตมากเท่ากับการรักษาสุขภาพกาย ผอ.รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กล่าวอีกว่า ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556-2558 จังหวัดในภาคเหนือ ยังคงมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าภาคอื่น ทั้งนี้ ในปี 2558 พบว่า ช่วงอายุ 30-54 ปี มีการฆ่าตัวตายมากกว่าช่วงอายุอื่น โดยเฉพาะ ช่วงอายุ 35-39 ปี มีการฆ่าตัวตายสูงสุด เพศชายยังคงฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าเพศหญิง ในพื้นที่ตำบลปันแต ปี2564 มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ จำนวน 2 ราย ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญนำไปสู่การฆ่าตัวตายมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัยที่ควรร่วมมือกันเฝ้าระวังและป้องกันอย่างจริงจัง ได้แก่ ปัญหาความสัมพันธ์ เช่น การน้อยใจ ถูกดุด่า โดนตำหนิ ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หุนหันพลันแล่น ถูกนอกใจ อกหักรักคุด รวมไปถึง มีปัญหาติดสุรา ยาเสพติด ทรมานจากโรคเรื้อรัง เป็นโรคจิต โรคซึมเศร้าอยู่เดิม เคยทำร้ายตัวเองมาก่อน ตลอดจนมีปัญหาเศรษฐกิจ ยากจน ขัดสน เงินไม่พอใช้ เสียทรัพย์จากการพนัน เป็นต้น การฆ่าตัวตาย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยซึ่งอยากให้มองว่าการฆ่าตัวตาย เป็นเหมือนโรคๆ หนึ่ง ที่รักษาได้ และ ป้องกันได้ ด้วยความร่วมมือจากทุกคน ซึ่งองค์การอนามัยโลกก็ได้กำหนดมาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายให้ประเทศทั่วโลกได้ยึดถือปฏิบัติ กำหนดเป้าหมายร่วมกันที่จะลดอัตราการฆ่าตัวตายในแต่ละประเทศ ให้ลดลงจากเดิม 10% ภายในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ไม่เกิน 6.5 ต่อแสนประชากร ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังถูกภัยร้ายนี้คุกคาม แต่ทั่วโลกเองก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน เพราะการมองข้ามความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิต ที่เห็นได้จากงบลงทุนในการดูแลสุขภาพจิตทั่วโลก มีเพียงร้อยละ 2.8 และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับเพียงร้อยละ 0.44 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว อัตราการฆ่าตัวตายของไทยยังจัดอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ การแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่สำคัญ คือ ต้องขับเคลื่อนด้วยผู้กำหนดนโยบายอย่างจริงจังพร้อมมีข้อมูลหลักฐานวิชาการที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาขับเคลื่อนไปได้ กลวิธีสำคัญในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในแต่ละประเทศ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ แผนงาน กลยุทธ์ ที่ชัดเจน การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง บูรณาการแก้ไขปัญหาใน ทุกรูปแบบ มีการประเมินอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงการดูแลสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชที่เกี่ยวข้อง ลดการเข้าถึงอาวุธ สารเคมี และแอลกอฮอล์ ตลอดจน ความร่วมมือที่ดีจากสื่อมวลชนในการนำเสนอปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีความถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ลดและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย สำหรับมาตรการป้องกันในหน่วยงาน คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการฆ่าตัวตายและโรคทางจิตเวชต่างๆ การสังเกต เฝ้าระวัง เพื่อนร่วมงานที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือต่อไป ส่วนคนที่เคยมีอาการแล้วดีขึ้น จะมีการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก อย่างไรก็ตาม ปัญหาการฆ่าตัวตาย สามารถป้องกันได้ ทั้งจากคนใกล้ชิดและเพื่อนร่วมงาน โดยพบว่า การให้กำลังใจ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในพื้นที่

อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในพื้นที่

6.30
2 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวช ในชุมชน

ร้อยละ 80 ญาติของผู้ป่วยจิตเวชมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชสามารถอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีความสุขตามศักยภาพของตนเอง

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจิตเวชสามารถอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีความสุขตามศักยภาพของตนเอง

80.00
4 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65
1 กิจกรรมอบรมสุขภาพจิตศึกษาในกลุ่ม อสม.(1 เม.ย. 2565-30 เม.ย. 2565) 7,220.00      
2 กิจกรรมการประเมินอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดย อสม.(1 เม.ย. 2565-31 พ.ค. 2565) 0.00      
รวม 7,220.00
1 กิจกรรมอบรมสุขภาพจิตศึกษาในกลุ่ม อสม. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 39 7,220.00 1 7,220.00
1 - 30 มิ.ย. 65 กิจกรรมอบรมสุขภาพจิตศึกษาในกลุ่ม อสม. 39 7,220.00 7,220.00
2 กิจกรรมการประเมินอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดย อสม. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 0.00 1 0.00
1 มิ.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 2.กิจกรรมการประเมินอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดย อสม. 40 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2565 14:39 น.