กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 65-L3321-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 6,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 - 13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 31 ส.ค. 2565 6,150.00
รวมงบประมาณ 6,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 1295 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)
57.50

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีประชากรผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ของโลกเพิ่มมากขึ้นทำให้หลายประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว (Ageing Society) จากข้อมูลสำรวจใน พ.ศ. 2556 พบว่าประเทศที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดตามลำดับ ดังนี้อันดับ 1 ประเทศญี่ปุ่นมีผู้สูงอายุร้อยละ 32.0, อันดับ 2 ประเทศอิตาลีร้อยละ 26.9 , อันดับ 3 ประเทศเยอรมัน ร้อยละ 26.8, และประเทศไทยมีผู้สูงอายุร้อยละ 14.3 มากเป็นอันดับที่ 63 ของโลก และในภูมิภาคอาเซียนประเทศไทยมีผู้สูงอายุมากเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์ (ข้อมูลกรมอนามัย) ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุของประเทศไทยในปัจจุบันของกรมอนามัย พบว่า พ.ศ. 2537 มีจำนวนผู้สูงอายุ 4.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 6.8 พ.ศ. 2545 จำนวน 5.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9.4 พ.ศ. 2550 จำนวน 7.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10.7 พ.ศ. 2554 จำนวน 8.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 12.2 ล้านคน และในปี 2557 จำนวน 10.0 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.9 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2568 นั้นหมายถึงในอีก 10 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society) และยังพบว่าอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของประชากรไทยในอนาคตเพิ่มสูงขึ้นดังนี้ พ.ศ. 2550 ชาย 68.4 ปี หญิง 75.20 ปี พ.ศ. 2553 ชาย 71.0 ปี หญิง 71.70 ปี พ.ศ. 2563 ชาย 73.0 ปี หญิง 79.40 ปี พ.ศ. 2573 ชาย 75.10 ปี หญิง 80.90 ปี และในปี พ.ศ. 2583 ชาย 77.20 ปี และหญิง 82.30 ปี อายุคาดเฉลี่ยฯ หญิงสูงกว่าชาย โดยพบว่าประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวขึ้น ผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) เพิ่มสูงขึ้นดังนี้ พ.ศ. 2553 จำนวน 1.07 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 12.10 , พ.ศ. 2563 จำนวน 1.69 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.40 ,พ.ศ. 2573 จำนวน 2.42 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.80 และ พ.ศ. 2583 จำนวน 3.92 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.10 ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพึ่งพิงสูง ปัญหาสุขภาพที่พบมีดังนี้ กลุ่มโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุได้แก่ โรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง สุขภาพช่องปาก และสุขภาพตา ผู้สูงอายุวัยต้นเป็นโรคเรื้อรังร้อยละ 69.30 ผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไปเป็นโรคเรื้อรังร้อยละ 83.0 และเจ็บป่วยจากโรค 6 โรคพร้อมกันร้อยละ 70.80 การเจ็บป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเพศหญิงเจ็บป่วยมากกว่าเพศชาย และกลุ่มโรคที่เกิดจากภาวะเสื่อมของร่างกาย (Geriatric Syndrome) เช่น สมองเสื่อม ซึมเศร้า หกล้ม กลั้นปัสสาวะ โภชนาการ และการนอน พบว่าผู้สูงอายุในประเทศไทยมีกลุ่มอาการดังกล่าวมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นและเพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย
จากการประเมินดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันบาร์เธลเอดีแอล ปี 2564 ในพื้นที่ตำบลปันแต พบว่ามีผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมจำนวน 1159 คน คิดเป็นร้อยละ 95.94ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.48และกลุ่มติดเตียงจำนวน19 คน คิดเป็นร้อยละ 1.57 ในการเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุและเพื่อดำเนินการตามนโยบายการส่งเสริมสุขภาพทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขึ้นเพื่อสร้างและพัฒนาแผนส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป"

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ10 เรื่อง

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 เรื่อง

90.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65
1 กิจกรรมให้ความรู้แก่แกนนำ อสม.ในการคัดกรอง สุขภาพผู้สูงอายุ(1 เม.ย. 2565-30 เม.ย. 2565) 4,200.00      
2 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 เรื่อง(1 พ.ค. 2565-31 ส.ค. 2565) 1,950.00      
รวม 6,150.00
1 กิจกรรมให้ความรู้แก่แกนนำ อสม.ในการคัดกรอง สุขภาพผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 4,200.00 1 4,200.00
1 - 30 มิ.ย. 65 กิจกรรมให้ความรู้แก่แกนนำ อสม.ในการคัดกรอง สุขภาพผู้สูงอายุ 120 4,200.00 4,200.00
2 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 เรื่อง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1295 1,950.00 1 1,950.00
1 มิ.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 เรื่อง 1,295 1,950.00 1,950.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติ
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง
  3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2565 14:54 น.