กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนห้องเรียนกัมปงสืบค้นทักษะชีวิต ต.สะเอะ ”
จังหวัดยะลา



หัวหน้าโครงการ
นายนาร์ดิน เทษา




ชื่อโครงการ โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนห้องเรียนกัมปงสืบค้นทักษะชีวิต ต.สะเอะ

ที่อยู่ จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-L4114-02-06 เลขที่ข้อตกลง 65-L4114-02-09

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 8 เมษายน 2565 ถึง 12 กรกฎาคม 2565

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนห้องเรียนกัมปงสืบค้นทักษะชีวิต ต.สะเอะ จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนห้องเรียนกัมปงสืบค้นทักษะชีวิต ต.สะเอะ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนห้องเรียนกัมปงสืบค้นทักษะชีวิต ต.สะเอะ " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 65-L4114-02-06 ระยะเวลาการดำเนินงาน 8 เมษายน 2565 - 12 กรกฎาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 30,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
  2. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
  3. เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
  4. เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน
  5. เพื่อเพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน
  6. พื้นที่เรียนรู้ด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย (1วัน)
  2. จิตอาสา ขยับกาย สร้างสุขชุมชน(สัปดาห์ละ 1 วันๆละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง รวม 12 ครั้ง)
  3. ปลูกผักปลอดสารพิษ ไฮโดรโปนิกส์ระบบน้ำนิ่ง (แปลงสาธิตการปลูกผัก)
  4. อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (1 วัน)
  5. มหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ กินผัก ขยับกายสร้างสุข (1 วัน)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-เด็กและเยาวชนลดพฤติกรรมเหนื่อยนิ่งจากการเล่นเกมส์และมีกิจกรรมทางกายมากขึ้น -เกิดเยาวชนอาสาเป็นแกนนำในการละเล่นกีฬาหรือกิจกรรมพื้นบ้านเพื่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ -เด็กและเยาวชนหันมาบริโภคผักปลอดสารมากขึ้น -เกิดผลกระทบระดับชุมชนตระหนักและให้ความสำคัญในการมีกิจกรรมทางกายเพื่อตนเองและครอบครัว


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย (1วัน)

วันที่ 8 เมษายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

จัดอบรมการให้สร้างการเรียนรู้ในสถานการณ์สุขภาพ โรค พฤติกรรมการบริโภคในเด็กและเยาวชน ความสำคัญของบริโภคผักและผลไม้  โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง และจัดอบรมสร้างความรู้สถานการณ์กิจกรรมทางกาย องค์ความรู้และความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ กิจกรรมสร้างสรรค์ในบริบทของเด็กและเยาวชนโดยวิทยากรจากกลุ่มงานศูนย์จัดการเครือข่าย (สสส) อบต.สะเอะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-สร้างแกนนำเด็กและเยาวชนในการส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในกลุ่มและในชุมชน -สร้างเครือข่ายกลุ่มเยาวชนระหว่างพื้นที่เพื่อร่วมหนุนเสริมการมีกิจกรรมทางกายร่วมกัน

 

30 0

2. จิตอาสา ขยับกาย สร้างสุขชุมชน(สัปดาห์ละ 1 วันๆละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง รวม 12 ครั้ง)

วันที่ 9 เมษายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพการมีกิจกรรมทางกายผ่านกิจกรรมจิตอาสาในชุมชนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยแกนนำเด็กและเยาวชนและเครือข่ายกลุ่มเยาวชนแกนนำในพื้นที่ ประกอบด้วยการทำความสะอาดศาสนสถาน การซักล้างผ้าละหมาดให้ถูกสุขลักษณะ การส่งเสริมพื้นที่กีฬาในชุมชน การเดินทางสำรวจแหล่งท่องเที่ยวพร้อมกับการประชาสัมพันธ์การดูแลการจัดขยะในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน การทำกิจกรรมซุ้มประตูกุรบานหรือซุ้มประตูชัยของชุมชนเพื่อลดพฤติกรรมการติดเกมส์ของเด็กและเยาวชน การดูแลสิ่งแวดล้อมที่กูโบร์ที่รกร้างให้มีความปลอดภัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดกลไกเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้กิจกรรมจิตอาสาของแกนนำเด็กและเยาวชนและสามารถสร้างผลกระทบให้เกิดในกลุ่มผู้ปกครองและประชาชนในพื้นที่ เด็กและเยาวชนมีวินัยในตนเองมากขึ้นในการรักษากติกาของกลุ่มที่จะแบ่งการใช้เวลาในกิจกรรมของกลุ่ม ชุมชนได้รับประโยชน์ในส่วนของสถานที่ส่วนกลางที่ได้รับการดูแลเกิดความรู้สึกและภาวะความสุขจากการที่ลูกหลานได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ในชุมชน โดยมีกลุ่มเครือข่ายหลัก 3 กลุ่มเยาวชนใน 3 ชุมชนและส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้ปกครอง

 

30 0

3. ปลูกผักปลอดสารพิษ ไฮโดรโปนิกส์ระบบน้ำนิ่ง (แปลงสาธิตการปลูกผัก)

วันที่ 13 เมษายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพการมีกิจกรรมทางกายและการส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษโดยการทำแปลงสาธิตการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ระบบน้ำนิ่ง โดยมีกิจกรรมการเดินป่าสำรวจทรัพยากรไม้ไผ่ในชุมชนเพื่อที่จะมาใช้ทำโรงเรือนแปลงการปลูกผัก การมีกิจกรรมทางกายโดยการแบ่งเวรการดูแลผัก การส่งเสริมให้ปลูกผักในครัวเรืิอน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • เด็กได้รับการเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ
  • เกิดแปลงโรงเรืองสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ
  • เด็กและเยาวชนหันมาบริโภคผักที่ตนเองปลูกผ่านการทำอาหารอย่างง่าย

 

30 0

4. อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (1 วัน)

วันที่ 15 เมษายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

ฝึกอบรมการละเล่นพื้นบ้านโบราณ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ส่งเสริมเรื่องการมีกิจกรรมทางกาย การให้ความรู้ในกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านในบริบทของพื้นที่โดยปราชญ์ชาวบ้าน การทำว่าวมลายูโบราณ การเลือกไม้ไผ่ การเหลาไผ่ เป็นต้น และส่งเสริมการรวมกลุ่มให้เด็กและเยาวชนหันมาใช้การละเล่นโบราณในช่วงของตนเย็นผ่านการขัลเคลื่อนของแกนนำเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างพื้นที่สร้างสรรค์กิจกรรมทางกายให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ในระดับชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-เกิดแกนนำและกลไกเครือข่ายเยาวชนในการส่งเสริมพื้นที่ลานสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนโดยส่วนหนี่งนำกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพ -มีการนำกิจกรรมไปใช้ขับเคลื่อนในชุมชนของกลไกเครือข่ายเยาวชนในการทำกิจกรรมในโอกาสของวันตรุษอีดิลอัฏฮาในชุมชน โดยมีแกนนำเด็กและเยาวชนใน 3 กลุ่ม

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)
25.01 26.27

 

2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)
68.01 69.66

 

3 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
72.00 75.00

 

4 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน
ตัวชี้วัด : ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
65.00 70.00

 

5 เพื่อเพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น
25.00 30.00

 

6 พื้นที่เรียนรู้ด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ
ตัวชี้วัด : มีแหล่งเรียนรู้ (ห้องเรียนเกษตร) สำหรับเด็กและเยาวขนในชุมชน
5.00 6.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น (2) เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่ (3) เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน (4) เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน (5) เพื่อเพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน (6) พื้นที่เรียนรู้ด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย (1วัน) (2) จิตอาสา ขยับกาย สร้างสุขชุมชน(สัปดาห์ละ 1 วันๆละอย่างน้อย 2 ชั่วโมง รวม 12 ครั้ง) (3) ปลูกผักปลอดสารพิษ ไฮโดรโปนิกส์ระบบน้ำนิ่ง (แปลงสาธิตการปลูกผัก) (4) อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (1 วัน) (5) มหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์  กินผัก ขยับกายสร้างสุข (1 วัน)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนห้องเรียนกัมปงสืบค้นทักษะชีวิต ต.สะเอะ จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-L4114-02-06

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายนาร์ดิน เทษา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด