โครงการค่ายเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด ตามแนวมุสลิม ปีงบประมาณ พ.ศ.2565
ชื่อโครงการ | โครงการค่ายเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด ตามแนวมุสลิม ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เครื่อข่ายครูอิสลามศึกษาตำบลปูยุด |
วันที่อนุมัติ | 8 กุมภาพันธ์ 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 9 มีนาคม 2565 - 11 มีนาคม 2565 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 11 เมษายน 2565 |
งบประมาณ | 82,780.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวันดี แวซาและ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 ได้บัญญัติให้ผู้รับผิดชอบการศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้ครอบคลุมสำหรับทั้ง 3 ด้าน คือ ให้เป็นคนเก่ง คนดี สามารถดำเนินชีวิตอยู่2.หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 ได้บัญญัติให้ผู้รับผิดชอบการศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้ครอบคลุมสำหรับทั้ง 3 ด้าน คือ ให้เป็นคนเก่ง คนดี สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลกที่มีการพลวัตรอยู่ตลอดเวลา ผลกระทบที่ก่อให้เกิดสภาพปัญหาที่รุนแรงในเยาวชนวัยรุ่นและวัยเรียนในสังคมไทยก็คือปัญหาด้านยาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในแต่ละปีเป็นจำนวนมากมหาศาล นอกจากเป็นการสูญเสียจำนวนเม็ดเงินแล้วยังส่งผลถึงความล่มสลาย วิญญาณของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคคลใกล้ชิด ทำให้เกิดปัญหาทางด้านสังคมติดตามมาอีกมากมาย การแก้ปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นการยากลำบาก ทั้งในด้านการใช้งบประมาณ พลังใจที่เข้มแข็งและเวลาอันยาวนาน เครือข่ายครูอิสลามศึกษาตำบลปูยุดในฐานะเป็นองค์กรที่ต้องดูแลรับผิดชอบ กลุ่มเยาวชนดังกล่าวเห็นว่าการป้องกันโดยการสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจนับเป็นแนวทางสำคัญ ที่ทำให้เยาวชนปลอดภัยจากยาเสพติด ได้ในระดับหนึ่ง นอกเหนือจากการดูแลของสถาบันครอบครัว เครือข่ายครูอิสลามศึกษาตำบลปูยุดได้สำรวจโรงเรียนบ้านรามง โรงเรียนชุมชนบ้านปูยุดและโรงเรียนบ้านบาราเฮาะ พบว่ายังไม่มีผู้ติดสารเสพติดดังกล่าว เนื่องจากนักเรียนยังอายุน้อยแต่จากประสบการณ์พบว่า เมื่อนักเรียนเข้าสู่วัยรุ่นในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นไป นักเรียนก็จะเริ่มเข้าไปทดลองใช้ยาเสพติดดังกล่าวจนทำให้ต้องเสียคนและเสียการเรียนไปในที่สุด
ด้วยเหตุนี้เองทำให้เครือข่ายครูอิสลามศึกษาตำบลปูยุดได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมให้แก่เยาวชนตามวิถีมุสลิม เนื่องจากมุสลิมเป็นวิถีการดำเนินชีวิตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาที่บัญญัติไว้ในอัลกรุอาน และตามแบบอย่างท่านนบี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนชั้น ป.6 ได้เรียนรู้ถึงพิษภัยของยาเสพติดและมีทักษะในการป้องกันและปฏิเสธยาเสพติด ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
---|
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และตระหนักเกี่ยวกับโทษภัยของยาเสพติด และรู้จักวิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด
- ตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ เยาวชนในท้องถิ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับอิสลาม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2565 11:15 น.