กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการฟ้อนรำแบบพื้นเมืองประยุกต์
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอสม.รักษ์สุขภาพตำบลแม่ใส
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพะเยา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าในแต่ละปีการเสียชีวิตของประชากรโลกเกือบ 1.9 ล้านคนมาจากการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ซึ่งการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุง และการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ โดยมีโอกาสเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจร้อยละ 30 โรคเบาหวานร้อยละ 27 โรคมะเร็งลำไส้ร้อยละ 25 โรคมะเร็งเต้านมร้อยละ 21 โรคหลอดเลือดหัวใจร้อยละ 6 และมีโอกาสเสี่ยงต่อการตายสูงถึงร้อยละ 20-30 ส่วนพฤติกรรมเนือยนิ่งก็มีความสัมพันธ์กับอัตราการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน จากสถานการณ์การทำกิจกรรมทางกายภาพรวมของประเทศที่ผ่านมา พบว่ามีทิศทางการทำกิจกรรมทาง กายของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือจากร้อยละ 66.30 ในปี 2555 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.60 (ปี พ.ศ.2562) เมื่อพิจารณาตามกลุ่มช่วงวัย พบว่า ในภาพรวมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นกลุ่มวัยทำงานที่มีการลดลงของระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
จากข้อมูลข้างต้น เห็นได้ว่าการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งหรือมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วย โดยเกิดจากโรคเรื้อรังและหากมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายโดยใช้ศิลปวัฒนธรรมการฟ้อนรำของชุมชนซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่นเป็นสื่อกลางในการเชิญชวนให้ประชาชนมาทำกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอในระดับปานกลางถึงหนักเพิ่มขึ้น ก็จะสามารถลดอัตราการเจ็บป่ายและลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจลงได้ กลุ่มอสม.รักษ์สุขภาพตำบลแม่ใสได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายดังกล่าว จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการฟ้อนรำแบบพื้นเมืองประยุกต์ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม โดยใช้ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น

ประชาชนในชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน หรือไม่น้อยกว่า 150 นาที

55.00 75.00
2 เพื่อสร้างแกนนำในการออกกำลังกายในชุมชนโดยใช้ศิลปะการฟ้อนรำแบบพื้นเมืองประยุกต์

มีแกนนำการออกกำลังกายโดยการฟ้อนรำแบบพื้นเมืองประยุกต์ อย่างน้อย 12 คน

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี

มีการประเมินสภาพร่างกายก่อนและหลังการจัดกิจกรรม โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพกายดีขึ้นโดยรวมอย่างน้อยร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,500.00 0 0.00
15 - 30 มี.ค. 65 1.ประชุมเพื่อหารือรูปแบบและวิธีการในการจัดกิจกรรม /รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
24 มี.ค. 65 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำกิจกรรมทางกายแก่แกนนำ 0 9,300.00 -
1 เม.ย. 65 - 30 มิ.ย. 65 ฝึกทักษะผู้นำการออกกำลังกายโดยใช้การฟ้อนรำพื้นเมืองประยุกต์ 0 10,800.00 -
1 ก.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 ประเมินติดตามผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ 0 1,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  2. ชุมชนมีแกนนำในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น สามารถขยายเครือข่ายครอบคลุมไปทุกหมู่บ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2565 19:44 น.