กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการละเล่นพื้นบ้านเด็กและเยาวชน ตำบลยาบี
รหัสโครงการ 65-L3070-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลยาบี
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 มีนาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮัสณี ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายเเวฮาซัน โตะฮิเล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอด กันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน ความรู้จำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอด เช่น การรักษาโดยการใช้ยาสมุนไพร งานหัตถกรรมทอผ้าหรือเครื่องเงิน การใช้เทคโนโลยีทันสมัยใช้รถไถแทนควาย รวมถึงของเล่นของเด็กในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตประจำวันมนุษย์อย่างรวดเร็ว เมื่อย้อนไปสมัยอดีต สำหรับเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น คงมีโอกาสได้เล่นของเล่นสนุก ๆ จากคนเฒ่า-คนแก่ พ่อ-แม่หรือปู่-ย่า ตา-ยาย ซึ่งมักจะประดิษฐ์ของเล่น โดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้วยการสังเกตกลไกลทางธรรมชาติและการประยุกต์วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่นมาทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก ๆ การละเล่นพื้นบ้านแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือของเล่นสำหรับเด็กแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสามารถส่งเสริมทักษะ ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย สร้างความแข็งแรงของร่างกาย ทำให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการทำของเล่นด้วยตนเอง สามารถสร้างความภาคภูมิใจให้แก่เด็ก ๆ ฝึกให้เด็ก คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้วิธีการประยุกต์ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น หรือสิ่งที่เหลือใช้มาดัดแปลงทำเป็นของเล่นได้ที่สำคัญของเล่นที่ได้ มักทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ จึงเป็นของเล่นที่ไม่เป็นอันตราย นอกจากนี้การละเล่นพื้นบ้านตามภูมิปัญญาท้องถิ่นยังมีประโยชน์มากมาย ถ้าได้รับการส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรม มีระบบ มีการพัฒนา จะเป็นการฝึกให้เด็กและเยาวชน คิดอย่างเป็นระบบ มีแบบแผนฝึกการเคลื่อนไหว ความคล่องแคล่วว่องไว ฝึกความอดทน ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ฝึกการสังเกต มีปฏิภาณไหวพริบ สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ พร้อมทั้งเกิดความสนุกสนาน การละเล่นพื้นบ้าน จึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้ โดยเฉพาะการละเล่นพื้นบ้าน ควรให้เด็กและเยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และอนุรักษ์ให้คงอยู่กับสังคมไทยสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้เด็กและเยาวชนตำบลยาบี ในการละเล่นพื้นบ้านตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
  1. เด็กและเยาวชนตำบลยาบี ได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติในการละเล่นพื้นบ้านตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. เด็กและเยาวชนตำบลยาบี เกิดจิตสำนึก เกิดความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการละเล่นพื้นบ้าน
90.00
2 2.เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนตำบลยาบี เกิดความตระหนัก และเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการละเล่นพื้นบ้าน
  1. เด็กและเยาวชนตำบลยาบี ได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติในการละเล่นพื้นบ้านตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. เด็กและเยาวชนตำบลยาบี เกิดจิตสำนึก เกิดความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการละเล่นพื้นบ้าน
90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
17 ก.พ. 65 2.กิจกรรมการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการละเล่นพื้นบ้านของสามจังหวัดชายแดนใต้ 0 2,500.00 -
รวม 0 2,500.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กและเยาวชนตำบลยาบี ได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติในการละเล่นพื้นบ้านตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.เด็กและเยาวชนตำบลยาบี เกิดจิตสำนึก เกิดความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการละเล่นพื้นบ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2565 13:15 น.