กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนสามวัยตำบลยาบี ขยับกายเพื่อสุขภาพ ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L3070-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มคนรักสุขภาพตำบลยาบี
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 48,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโมฮัมหมัด เจะปอ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คนสามวัยประกอบด้วย วัยเด็กและเยาวชน วัยกลางคน และวัยผู้สูงอายุ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่งคงในชีวิตของคนทั้งสามวัย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ให้ครอบคลุมในทุก ๆ มิติ ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ และด้านสังคม โดยเฉพาะการส่งเสริมกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย ของคนสามวัย จากการสำรวจข้อมูลสุขภาพของประชาชนตำบลยาบี ด้วยการตรวจสุขภาพประจำเดือน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี พบว่าประชาชนตำบลยาบี ยังขาดการทำกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและทำเป็นประจำ แยกออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 กลุ่มวัยเด็กและเยาวชน
- ที่มีอายุระหว่าง 10 – 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 21.5 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ - ที่มีอายุระหว่าง 16 – 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.8 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัว สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ และไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ

กลุ่มที่ 2
กลุ่มวัยกลางคนหรือวัยทำงาน อายุ 21 – 59 ปี ร้อยละ 50.2 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากต้องทำงานหารายได้ให้กับครอบครัว สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และไม่มีเวลาว่าง ตามลำดับ

กลุ่มที่ 3
กลุ่มวัยผู้สูงอายุ อายุ 60 – 70 ปีขึ้นไป ร้อยละ 54.9 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ต้องทำงานหารายได้ให้กับครอบครัว ตามลำดับ จากข้อมูลข้างต้น กลุ่มคนรักสุขภาพตำบลยาบี ตระหนักถึงปัญหาและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เกี่ยวกับสุขภาพของคนสามวัย จึงได้จัดทำโครงการคนสามวัยตำบลยาบี ขยับกายเพื่อสุขภาพ ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มคนสามวัย ให้ได้มีกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายที่เพียงพอ เหมาะสม กับช่วงวัยอายุ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงด้วยการขยับกายหรือออกกำลังกาย ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และวิถีชีวิต รวมถึงมีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 10 - 20 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

1.คนสามวัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีสุขภาพที่แข็งแรง ร้อยละ 20 2.คนสามวัยได้มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 20 3.คนสามวัยเห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย ร้อยละ 20

25.44
2 ร้อยละของวัยกลางหรือวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 21 - 59 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน)

1.คนสามวัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีสุขภาพที่แข็งแรง ร้อยละ 20 2.คนสามวัยได้มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 20 3.คนสามวัยเห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย ร้อยละ 20

40.16
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 - 70 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 20 นาทีต่อวัน)

1.คนสามวัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีสุขภาพที่แข็งแรง ร้อยละ 20 2.คนสามวัยได้มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 20 3.คนสามวัยเห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย ร้อยละ 20

43.92
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 190 48,125.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ จำนวน 2 รุ่น 1.1 หัวข้อ“การดูแลสุขภาพ,หลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับช่วงวัย” 1.2 หัวข้อ “กิจกรรมอบรมให้ความรู้หลักโภชนาการให้สมวัย 95 24,725.00 -
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 2.กิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การวิ่ง, การเดิน, การเล่นกีฬา, การทำสวน, การปลูกพืช ฯลฯ 0 7,550.00 -
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 3.กิจกรรมตรวจวัดความสูง รอบอก รอบเอว น้ำหนัก ความดัน ประจำเดือน 0 1,850.00 -
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 4.กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 95 14,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ร้อยละของคนสามวัยแต่ละช่วงอายุที่ยังขาดการทำกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ หรือ ไม่เพียงพอในการทำกิจกรรมทางกายลดลงร้อยละ 20

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2565 15:46 น.