กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำปลอดภัย
รหัสโครงการ 65 – L4128 – 1 – 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกม.18
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมัสลิน พลรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกม.18
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.853,101.099place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นแผงลอย หรือร้านขายของชำในหมู่บ้าน ถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภค และบริโภคจากร้านขายของในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสารสเตียร์รอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้ประกอบการ ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้อง ก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง
ตำบลตาเนาะแมเราะ เป็นชุมชนที่เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ มีสถานประกอบการต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย ร้านขายของชำในหมู่บ้าน ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่าง เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆเพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย
ในการนี้ งานควบคุมโรคติดต่อ และงานสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน กม.18 ได้เล็งเห็นว่าการให้องค์ความรู้ในการป้องกันโรค การดูแลปฏิบัติตนเมื่อติดเชื้อผู้ประกอบการ ประโยชน์ของการสร้างภูมิคุ้มกันโรค การตรวจหาเชื้อด้วยตนเองเบื้องต้น (ATK) จะทำให้ผู้ประกอบการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตนมากขึ้น และส่งผลให้ลดการแพร่กระจายของผู้ติดเชื้อโรค ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อติดเชื้อ และลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลงไปได้ จึงได้จัดทำโครงการร้านชำปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้ และมีทักษะในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่มีการสำรวจเฝ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภคส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยขึ้น จากการอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอันตรายต่อสุขภาพของคนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้

เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสําอาง ที่มีคุณภาพ จําหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้

0.00
2 2 เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิด และสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้

ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสําอาง ที่มีคุณภาพ จําหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้

0.00
3 3 เพื่อให้มีเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ๆสามารถให้ความรู้ และให้คําแนะนําในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยได้

ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิด และสามารถเลือกจําหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 อบรม(1 มี.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 4,800.00              
2 จัดซื้อวัสดุโครงการ(1 มี.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 22,650.00              
รวม 27,450.00
1 อบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 4,800.00 0 0.00
21 ก.พ. 65 ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ =4,800 บาท 80 4,800.00 -
2 จัดซื้อวัสดุโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 22,650.00 0 0.00
21 ก.พ. 65 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆ ละ 90 บาท= 7,200 บาท 80 7,200.00 -
21 ก.พ. 65 ค่าสมนาคุณวิทยากรภายในหน่วยงาน วันละ 2 คน คนละ 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท = 1,800 บาท 0 1,800.00 -
21 ก.พ. 65 ค่าชุดตรวจ ATK จำนวน 78 ชุด ชุดละ 175 บาท = 13,650 บาท 0 13,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสําอาง ที่มีคุณภาพ จําหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้   2.ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิด และสามารถเลือกจําหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้   3.เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้ และคําแนะนําในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน
    และผู้ประกอบการได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2565 09:46 น.