กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีเริ่มที่ตัวเรา
รหัสโครงการ 65-L4128-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาลบางส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาลา
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 พฤษภาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 9 กันยายน 2565
งบประมาณ 25,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุวารี พิริยะนันทกาญจน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.853,101.099place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสาเหตุการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน เป็นต้น ซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ เรื่องการบริโภคอาหาร ขาดการออกกำลังกาย อารมณ์เครียด การดื่มสุรา และ สูบบุหรี่ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของคนในสังคมที่ต้องดิ้นรน และต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของตนเอง ส่งผลให้ชีวิตประจำวันเกิดความเร่งรีบ มีความเครียด จากการทำงาน โอกาสในการออกกำลังกายมีน้อย บริโภคอาหารที่คำนึงถึงความสะดวกรวดเร็ว  อิ่มท้อง ต้องพึ่งพาบุหรี่ และแอลกอฮอล์ การเข้าถึงอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวล้วนมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน ในปัจจุบันประชาชน สามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต แต่ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกัน และลดความเสี่ยงเหล่านี้ยังไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาลาปีงบประมาณ 2564 พบว่าจำนวนกลุ่มเป้าหมาย  คัดกรองเบาหวาน 861 ราย พบกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน 50 ราย คิดเป็นเป็นร้อยละ 5.8๑ กลุ่มป่วยรายใหม่ 11 ราย คิดเป็นร้อยละ1.27 และจากการคัดกรองความดันโลหิตสูงจำนวน 738 ราย พบกลุ่มเสี่ยง 173 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.44 กลุ่มป่วย 1 รายคิดเป็นร้อยละ0.13 และ ยังมีกลุ่มโรคอ้วน ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ก่อให้เกิดโรค ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้นำมาซึ่งความเจ็บป่วย และการสูญเสียตามมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาลาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ได้ฝึกทักษะในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพและสามารถนำกลับไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

ประชาชนกลุ่มเสีย่งโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ฝึกทักษะในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถนำกลับไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในแบบต่างๆที่เลือกสรรและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดประชุมอสม.เพื่อชี้แจงแนวทางการคัดเลือกกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบ 2. เขียนโครงการฯ เสนอต่อ อบต.ตาเนาะแมเราะ 3.จัดอบรม 2 รุ่น
รุ่นที่ 1 จำนวน 70 คน
รุ่นที่ 1  อบรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่โดยมีกิจกรรม - ผู้เข้ารับการอบรมประเมินภาวะสุขภาพ ความพร้อมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความรอบรู้ด้านสุขภาพ
      - ฟังการบรรยายการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค / การปฏิบัติตัวเพื่อห่างไกล โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง       - จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และปัญหาสุขภาพ           - ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม     - ให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิต และการจัดการความเครียด           - ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสม           - สาธิต และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายและอาหาร กิจกรรม
    - ผู้เข้ารับการอบรมประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพหลังการอบรม           - ติดตามผลประเมินภาวะสุขภาพหลังอบรม 3 เดือน
รุ่นที่ 2 จำนวน 50 คน
รุ่นที่ 2 อบรมผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบโดยมีกิจกรรม       - ผู้เข้ารับการอบรมประเมินภาวะสุขภาพ ความพร้อมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความรอบรู้ด้านสุขภาพ       - ฟังการบรรยายการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน       - จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และปัญหาสุขภาพ         - ทักษะการตรวจเท้าด้วยตนเอง         - โรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน         - ภาวะจอประสาทตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน         - การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติและความรู้ที่ดีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้อกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนได้ 3.ผู้เข้าอบรมมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในแบบต่างๆที่เลือกสรร และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2565 11:11 น.