กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาแกนนำเด็กและเยาวชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงบุหรี่และยาเสพติด ตำบลบ้านควน
รหัสโครงการ 65-L5307-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานกลุ่มเยาวชนคนต้นแบบบ้านทุ่งวิมาน
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2565 - 30 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 22,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรเทพ จิตหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของแกนนำ เยาวชน มีความรู้ ความเข้าเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และสารเสพติด
50.00
2 แกนนำเยาวชนขับเคลื่อนงานรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ ยาเสพติด และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยกลุ่มเยาวชนคนต้นแบบบ้านทุ่งวิมานเล็งเห็นถึงสถานการณ์ความรุนแรงของบุหรี่และยาเสพติดในสังคมปัจจุบัน จึงขอเสนอโครงการพัฒนาแกนนำเด็กและเยาวชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงบุหรี่และยาเสพติด ต.บ้านควนเพื่อสร้างแกนนำเยาวชนนักรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่ยาเสพติด และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์และพิษภัยจากการใช้บุหรี่และยาเสพติด ตลอดจนสร้างแกนนำนักรณรงค์ที่มีทักษะการรณรงค์ให้ผู้คนในพื้นที่ลด ละ เลิกบุหรี่ ยาเสพติด และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เพื่อให้ตำบลบ้านควนได้เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการสร้างแกนนำเยาวชนนักรณรงค์ลด ละ เลิกบุหรี่และยาเสพติดต่อไป
สถานการณ์การสูบหรี่ในจังหวัดสตูล จากสถานการณ์การสูบบุหรี่ในปัจจุบันของจังหวัดสตูลอยู่ในลำดับต้นของระดับประเทศ และครันบุหรี่มือสองจังหวัดสตูลอยู่ในอันดับต้นของประเทศเป็นอันดับ ๑ ของ ๗ จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จากการสำรวจเก็บมูลของศูนย์วิจัยปัญหายาสูบ(ศจย) สถานการณ์การใช้สารเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนตำบลบ้านควน จากข้อมูลจาก อสม. พบว่า อัตราส่วนของผู้ใช้สารเสพติดต่อประชากรเด็กและเยาวชนทั้งหมดในพื้นที่คือ 20~30% โดยประมาณ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเล็กที่สูงอย่างมาก จากสถานการณ์การสูบบุหรี่และการใช้สารเสพติดในเด็กและเยาวชนข้างต้นจึงได้มีการวิเคราะห์ปัญหาสำคัญของการสูบบุหรี่และใช้สารเสพติดในพื้นที่ตำบลบ้านควนที่เป็นปัญหาหลักด้านสุขภาพต่อตนเองและผู้อื่นโดยตรง ผลกระทบได้รับการสูบบุหรี่และใช้ยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนดังนี้ ด้านสุขภาพ >เป็นมะเร็งปอด > ความผิดปกติของทารกพัฒนาการของเด็ก>COPD >เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ >ระบบหายใจ >ทำลายประสาทสมอง >จิตใจเสื่อม ซึมเศร้า กังวล เลื่อนลอย และเป็นโรคจิตจากพิษยานั้นๆ >เสียบุคลิกภาพ >ขาดสติสัมปชัญญะ >ร่างกายซูบซีด อ่อนเพลีย >พิษยาทำลายอวัยวะต่างๆ ให้เสื่อมลง >มีโรคแทรกได้ง่าย >ประสบอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง ด้านจิตใจ >ขัดใจ/อึดอัด > เกิดสภาวะซึมเศร้า
ด้านเศรษฐ์กิจ >รายจ่ายเพิ่มขึ้น >รายได้ไม่เพียงพอ
ด้านครอบครัว >ปัญหาครอบครัว >เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ >ทำลายบรรยกาศภายในบ้าน >ขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว >ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัวและญาติพี่น้อง> เสียทรัพย์ที่จะต้องซื้อยามาเสพ และรักษาตัว >ขาดหลักประกันของครอบครัว >ทำงานไม่ได้ >ไม่เป็นที่วางใจของคนทั่วไป >นำภัยมาสู่บุตร ภรรยา ญาติพี่น้อง ด้านสังคม> ความขัดแย้งระหว่างบุคคล > เข้าถึงการซื่อได้ง่าย> สังคมไม่ยอมรับ> เป็นวัฒนธรรมทางสังคมเป็นภัยต่อสังคม >มีโอกาสเป็นอาชญากรประเภทลักขโมยได้ง่ายเนื่องจากมีรายจ่ายสูง ดังนั้นจากปัญหาทีกล่าวมาข้างต้นในแต่ละประเด็น จึงต้องมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน โดยการเปิดพื้นที่รณรงค์ให้ความรู้เท่าทัน บุหรี่ ยาเสพติด และปัจจัยเสียงต่างอื่นๆ โดยใช้กลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งถือเป็นพลังบริสุทธิ์ในการขับเคลื่อนกลไกการเชิญชวน ลด ละ เลิกบุหรี่และสิ่งเสพติดต่างๆ โดยการสร้างแกนนำแต่ละหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน เพื่อเป็นแกนนำหลักในการรณรงค์ภายในหมู่บ้านของตนเอง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะที่ดีสำหรับคนในชุมชนทุกเพศ ทุกวัยต่อไป
การบริหารจัดการโครงการที่ผ่านมามีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมสร้างแกนนำเยาวชนนักรณรงค์ อาทิเช่น พมจ.สตูล สสจ.สตูล อบต.บ้านควน มัสยิดสสอ.เมืองสตูล รวมทั้งการทำงานร่วมกับเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง จะสามารถช่วยสนับสนุนและผลักดันให้โครงการสามารถดำเนินการตามเป้าหมายดังที่ตั้งไว้ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และสารเสพติดแก่แกนนำ เยาวชน

ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และสารเสพติดแก่แกนนำ เยาวชน (ร้อยละ)

50.00 80.00
2 เพื่อสร้างแกนนำเยาวชนขับเคลื่อนงานรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ ยาเสพติด และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

จำนวนแกนนำเยาวชนขับเคลื่อนงานรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ ยาเสพติด และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

0.00 35.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,180.00 1 0.00
20 เม.ย. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันบุหรี่ ยาเสพติด และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆและภาวะความเป็นผู้นำ ในกลุ่มเด็กและเยาวชน 0 11,600.00 0.00
2 พ.ค. 65 - 1 ก.ค. 65 เดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด พร้อมมอบป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ และ ร้านนี้ไม่จำหน่ายสุรา 0 9,705.00 -
2 พ.ค. 65 กิจกรรม บำเพ็ญประโยชน์ ณ ศูนย์การเรียนรู้โคกหนองนาและแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านทุ่งวิมาน 0 875.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนำ เยาวชน มีความรู้ ความเข้าเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และสารเสพติดเพิ่มขึ้น
2.เกิดแกนนำเยาวชนขับเคลื่อนงานรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ ยาเสพติด และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2565 11:39 น.