กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุขกายใจ ผู้สูงวัยอายุยืน ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L2523-03-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลเอราวัณ
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มีนาคม 2565 - 29 เมษายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2565
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสามะ สะอุดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 450 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างสุขภาพถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคลช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคเครียดและโรคมะเร็งสาเหตุที่พบอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจาก กระบวนการสร้างสุขภาพไม่เพียงแต่จะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้การศึกษาด้านสุขภาพเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดผลในทางปฏิบัติและสภาพการณ์ของการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมบรรทัดฐานทางสังคมสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจซึ่งก็คือวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ของบุคคลและชุมชนนั่นเองแม้ระบบสุขภาพของคนไทยที่ผ่านมาจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้สุขภาพของประชาชนในภาพรวมดีขึ้นและระบบบริการสุขภาพจะมีความก้าวหน้ามากขึ้นแต่ยังมุ่งที่การจัดบริการเพื่อการรักษาพยาบาลเป็นหลักคำว่าสุขภาพในความหมายของคนทั่วไปกลายเป็นเรื่องของการรอให้เจ็บป่วยก่อนแล้วค่อยรักษาทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากแต่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็นนอกจากนี้แนวโน้มการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพของประชาชนก็มีความซับซ้อนมากขึ้นดังนั้นการแก้ไขด้วยวิธีคิดวิธีการและองค์ความรู้เดิมจึงไม่เพียงพอถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยการสร้างสุขภาพและด้วยภูมิปัญญาของชุมชนทั้งสังคมโดยการเน้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องบริโภคอาหารที่สุกสะอาดปลอดภัยไม่ติดยาเสพติดส่งเสริมให้ประชาชนในแต่ละชุมชนรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมด้านสุขภาพในรูปของชมรมสร้างสุขภาพโดยมีวัตถุประสงค์ให้ชมรมสร้างสุขภาพเป็นศูนย์กลางและเป็นกลไกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพสู่ประชาชนส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายและมีโภชนาการที่ดีเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงง่ายๆด้วยต้นทุนต่ำป้องกันโรคต่างๆอาทิโรคเบาหวานโรคหัวใจขาดเลือดโรคความดันโลหิตสูงฯลฯ ไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควรทำให้ประชาชนมีสมรรถภาพดีสามารถทำงานได้เต็มตามศักยภาพขณะเดียวกันก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพลงไปในตัวด้วยนอกจากนี้การออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆเช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่โรคของกล้ามเนื้อกระดูกและข้อต่อต่างๆป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยกลางคนและโรคกระดูกตะโพกหักในวัยสูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีดังนั้นหากพิจารณาให้ลึกซึ้งจะเห็นได้ว่าการออกกำลังกายและมีภาวะโภชนาการที่ดีจึงเป็นมาตรการทางอ้อมที่ใช้ในการเพิ่มรายได้ประชาชาติได้ด้วย
หลักสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดีคือการให้ความรู้ทางด้านโภชนาการอาหารการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพการดูแลสุขภาพจิตและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆจะช่วยป้องกันโรคที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิดปริมาณและถูกเวลาควรเลือกกินอาหารให้ครบ๕หมู่ให้หลากหลายและพอเพียงงดอาหารหวานมันเค็มดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตลอดจนการตรวจสุขภาพประจำปีโดยเฉพาะในรายผู้สูงอายุคนพิการผู้ด้อยโอกาสเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ และสามารถรักษาอาการป่วยได้ทันถ้วนทีจากนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าช่วยคนไทยห่างไกลโรคมีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวการสร้างเสริมจิตใจให้เข็มแข็งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ควรทำควบคู่กับการดูแลสุขภาพกายจิตควบคุมกายจิตใจที่เข็มแข็งจะทำให้ร่างกายมีพลังพร้อมที่จะรับและเผชิญกับสิ่งที่ต่างทั้งร้ายและดีที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันการทำให้จิตใจเข็มเข็งนั้น จำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มธรรมมะหลักธรรมทางศาสนาและโดยเฉพาะผู้สูงวัยการนำหลักคำสอนทางศาสนามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงเป็นวิธีการที่ควรส่งเสริมอย่างยิ่งการมีกำลังใจกำลังกายที่ดีจะทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืน และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีสติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อตรวจสุขภาพประจำปีให้กับผู้สูงอายุ

 

450.00
2 2 เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

 

450.00
3 3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ

 

450.00
4 4 เพื่อให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง

 

450.00
5 5 เพื่อเสริมอาหารใจ ให้ผู้สูงวัยมีธรรม ยึดมั่นในหลักการศาสนาในการดำรงชีพ

 

450.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 100,000.00 0 0.00
29 มี.ค. 65 1บริการตรวจสุขภาพคัดกรองโรค 0 88,400.00 -
29 มี.ค. 65 2. บรรยายให้ความรู้ 0 8,600.00 -
29 มี.ค. 65 3. นิทรรศการ 0 3,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุ ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
  2. ผู้สูงอายุ ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
  3. ผู้สูงอายุ ได้รับการตรวจคัดกรองและตรวจสุขภาพช่องปาก
  4. ผู้ป่วยที่คนพิการ ได้รับการตรวจคัดกรอง และสามารถรับการจดทะเบียนทำบัตรคนพิการรายใหม่
  5. ผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี สามารถลดรายจ่ายด้านการรักษาพยาบาลของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมทั้งทราบแนวทางการป้องกันและสามารถดูแลตนเองได้ต่อไป
  6. ผู้สูงอายุ ญาติพี่น้องผู้ดูแล และประชาชนทั่วไปสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงพยาบาล
  7. ประชาชนในพื้นที่มีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงานราชการโดยเฉพาะในสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในระยะยาวต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2565 13:54 น.