กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุป่วยเรื้อรัง และคนพิการที่ทุพพลภาพและด้อยโอกาสในพื้นที่ตำบลละหาร
รหัสโครงการ 65-L3060-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 31 พฤษภาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 69,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมุกดา สุทธวีร์กุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.659,101.627place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 99 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 74 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2543 กำหนดให้ภารกิจด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส การจัดสวัสดิการสังคม เป็นภารกิจที่จะต้องถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นหลักประกันด้านพื้นฐานของบริการสาธารณะ และอาศัยอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลถือว่าเป็นบทบาทหน้าที่หลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการ ซึ่งผู้สูงอายุ และคนพิการ สามารถทำคุณประโยชน์ต่อสังคมควบคู่ไปกับลูกหลานคนรุ่นหลังและเป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตในอนาคตอย่างมีความสุข และเพื่อเตรียมความพร้อมกรณีประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ในปี 2568 องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้พัฒนาระบบบริการ และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และคนพิการให้มีสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น มีระบบเฝ้าระวังสุขภาพ/สุขภาวะด้วยตนเองและครอบครัว การสร้างเครือข่ายการจัดบริการผู้สูงอายุ และคนพิการ เพื่อให้ผู้สูงอายุ และคนพิการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ตลอดทั้งปี ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุป่วยเรื้อรัง และคนพิการที่ทุพพลภาพและด้อยโอกาสเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปี ในจำนวนนี้ มีผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังที่ถูกทอดทิ้ง ขาดที่พึ่ง ขาดผู้ดูแล หรือคนพิการ ที่ด้อยโอกาส ที่มีฐานะยากจน ขาดการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องความเป็นอยู่ ส่งผลกระทบถึงร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิตโดยรวม องค์การบริหารส่วนตำบล    ละหาร ได้เห็นถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยในทุกด้านให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จึงได้ขอสนับสนุนงบประมาณโครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุป่วยเรื้อรัง และคนพิการที่ทุพพลภาพและด้อยโอกาสให้ได้รับการดูแลด้วยใจแบบใกล้บ้านใกล้ใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีความสุข อีกทั้งการเยี่ยมบ้านยังเป็นการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น ในชุมชนและทำความเข้าใจกับสภาพปัญหานั้นๆ เพื่อที่จะหาแนวทางแก้ไขให้เหมาะกับวิถีของชุมชน และสามารถประเมินสุขภาพของประชาชน ป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวบุคคลในอนาคต ซึ่งจะสามารถลดระดับความรุนแรงของปัญหาสุขภาพอนามัยขั้นพื้นฐานได้


/ดังนั้น...         ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร จึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุป่วยเรื้อรัง และคนพิการที่ทุพพลภาพและด้อยโอกาสในพื้นที่ตำบลละหาร เพื่อเป็นการติดตามอาการและเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุป่วยเรื้อรัง คนพิการที่ทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้เกิดความโดดเดี่ยวและมีกำลังใจพร้อมที่จะต่อสู้ชีวิตและมีสุขภาพจิต กายที่ดีขึ้น และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพเรื้อรัง และคนพิการที่ทุพพลภาพและด้อยโอกาสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุป่วยเรื้อรัง และคนพิการที่ทุพพลภาพ และด้อยโอกาส ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
  2. ผู้สูงอายุป่วยเรื้อรัง และคนพิการที่ทุพพลภาพในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามความเหมาะสม 3.ผู้สูงอายุป่วยเรื้อรัง และคนพิการที่ทุพพลภาพมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2565 09:04 น.