กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดำเนินการเชิงรุก สู้ภัย Covid-19 เทศบาลตำบลโคกม่วง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 5 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสหรัฐ ทองเพิ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 ก.พ. 2565 23 ก.พ. 2565 100,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7790 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ระลอกใหม่ ทวีความรุนแรงและขยายไปทั่วทุกภูมิภาคอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จังหวัดสงขลาเป็นหนึ่งในพื้นที่ ที่ได้ถูกกำหนดเป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยนำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กำหนดไว้สำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่างๆ มาบังคับใช้ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ระลอกใหม่พบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการน้อยมากในระยะแรก ผู้ติดเชื้อไม่ทราบว่าตนเองได้รับเชื้อ ทำให้ควบคุมการแพร่ระบาดได้ยาก ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่มีความผ่อนคลายกับสถานการณ์การควบคุมโรคที่ดีขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ค่อยระมัดระวัง การป้องกันตัวเองลดลง จึงทำให้โรคแพร่กระจายไปในทุกพื้นที่อย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและการดำรงชีวิตโดยปกติของประชาชน และระบบการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เทศบาลตำบลโคกม่วงเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดติดต่อในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๕๓ (๑) ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๑๖(๑๙) เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัย ครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้นเพื่อมิให้เหตุการณ์ระบาดของโรคอันเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ตำบลโคกม่วง ทวีความรุนแรงมากขึ้น สามารถยุติการระบาดได้โดยเร็ว ประชาชนปลอดภัยจากโรคและผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม จึงจัดโครงการดำเนินการเชิงรุก สู้ภัย Covid-19 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลตำบลโคกม่วง

ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ เพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ร้อยละ 100 ของวัสดุเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
3 เพื่อคัดกรองผู้ป่วยออกจากกลุ่มคนปกติ

สามารถแยกผู้ป่วยออกจากคนปกติได้ 100%

0.00
4 ผู้ป่วยได้รับการรักษาทันเวลา

ผู้ป่วยได้รับการรักษา 100%

0.00
5 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)

ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ 70%

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ขั้นตอนวางแผนงาน   - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการเชิงรุก - ประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อต่อประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลโคกม่วง 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน   1. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ สร้างความเข้าใจในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ผ่านช่องทางต่างๆ   2. ดำเนินงานเฝ้าระวัง และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
- กิจกรรมค้นหาเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ตรวจ ATK เชิงรุกในพื้นที่ ,สนับสนุนบริการวัคซีนฯ - จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข   3. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 1.  4. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้   2. ผู้ปฏิบัติงานมีวัสดุ/อุปกรณ์ ป้องกันสำหรับการดำเนินงานอย่างเพียงพอ   3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2565 09:46 น.