กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L4128-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 9 กันยายน 2565
งบประมาณ 12,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววิชุตา จุลวรรณโณ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อน้ำร้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.853,101.099place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กำลังระบาดทั้งประเทศ ข้อมูลจากศบค.โควิด 19 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 17 พฤศจิกายน 2564 มีผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศไทย จำนวน 2,008,361 คน มีผู้เสียชีวิต จำนวน 20,105 คน หายป่วยกลับบ้าน 7,191 ราย หายป่วยสะสม 1,898,217 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 91,382 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  จากรายงานสถานการณ์โควิด19 จังหวัดยะลา วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสม จำนวน 45,310 ราย เสียชีวิตสะสม 317 ราย กำลังรักษาตัว 2,960 ราย รักษาหายแล้ว 44,170 ราย ได้แพร่กระจายอยู่ในทุกอำเภอของจังหวัดยะลา จังหวัดยะลาได้มีมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดยะลา โดยกำหนดมาตรการคัดกรองการเดินทางเข้า-ออก พื้นที่จังหวัดยะลา ให้ผู้ที่เดินทางเข้าออกต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม เมื่อเข้าพื้นที่จะต้องกักตัวตนเองในที่พักหรือที่ราชการจัดให้ เป็นระยะ 14 วัน หรือเท่าที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลา โดยให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อออกคำสั่งให้กักตัวตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกอบกับสถานการณ์ในพื้นที่ตำบลตาเนาะแมเราะ (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึง 17 พฤศจิกายน 2564) มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 384 ราย ผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย และข้อมูลจากงานระบาดรพ.สต.บ้านบ่อน้ำร้อน มีผู้ป่วยสะสม จำนวน 37 ราย และการแพร่ระบาดของโรคอาจจะมีการแพร่กระจายเป็นวงกว้างได้อีกในอนาคต หากยังไม่มีมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่ดีพอ   สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงโรคกับผู้ป่วยโควิด ก็ให้ดำเนินการกักตัวตามความเห็นของเจ้าพนักงานควบคุมโรคออกคำสั่งให้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้กักตัวที่บ้าน (Home Quarantine) ต้องไม่ให้ออกจากที่พัก ต้องมีผู้จัดหาอาหารและของใช้จำเป็นให้ และต้องปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันโรค เช่น สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือด้วยเจลหรือสบู่บ่อย ๆ ต้องรักษาระยะห่างจากคนอื่น ต้องแยกห้องนอน แยกอุปกรณ์การทานอาหาร ต้องวัดอุณหภูมิร่างกาย เป็นต้น   อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุขของประชาชน จึงต้องปฏิบัติการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในพื้นที่ ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิเคราะห์ปัญหา เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหา
    1. จัดทำโครงการ และเสนอเพื่อขออนุมัติ
    2. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายตามโครงการ จำนวน 3 รุ่น
    3. ประเมินงานตามโครงการ
    4. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการตรวจป้องกันตนเองได้ และ สามารถถ่ายทอดวิธีการให้ประชาชนในพื้นที่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2565 10:20 น.